วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ฮัมฟรี เดวี่ : Humphrey Davy


ฮัมฟรี เดวี่ : Humphrey Davy

เกิด วันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1778 ที่เมืองเพนแซนซ์ คอร์นเวล (Penzance Cornwell) ประเทศอังกฤษ (England)

เสียชีวิต วันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1829 ที่เมืองเจนีวา (Geneva) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (Switzerland)

ผลงาน
- ค้นพบสมบัติของก๊าซไนตรัสออกไซด์ (Nitrous Oxide)
- บุกเบิกการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า
- ประดิษฐ์ตะเกียงนิรภัย (Safety Lamp)

ก่อนหน้าที่เดวี่จะประดิษฐ์ตะเกียงนิรภัยได้สำเร็จ มักเกิดการระเบิดภายในเหมืองขึ้นบ่อยครั้ง เนื่องจากภายในเหมืองแร่ใช้ตะเกียงแบบธรรมดาซึ่งมีประกายไฟ ทำให้เกิดการลุกไหม้กับก๊าซไวไฟที่อยู่ภายในเหมืองอย่างรวดเร็วและเกิดการระเบิดขึ้นและจากเหตุการณ์นี้ทำให้กรรมกรเหมืองเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ส่วนที่รอดชีวิตก็เกิดความหวานกลัวจนไม่กล้าเข้าไปทำงานภายในเหมือง ส่งผลให้อุตสาหกรรมหลายประเภทต้องหยุดชะงักลง นำความเสียหายต่อเศรษฐกิจอย่างมาก จนกระทั่งเดวี่ได้ประดิษฐ์ ตะเกียงนิรภัย (Safety Lamp) ก็ไม่ปรากฏว่าเกิดการระเบิดภายในเหมืองแร่อีกเลย นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมากทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ และอุตสาหกรรม

เดวี่เกิดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1778 ที่เมืองเพนแซนซ์ คอร์นเวล ประเทศอังกฤษในครอบครัวที่ค่อนข้างยากจน บิดาของเดวี่เป็นช่างแกะสลักไม้ ในปี ค.ศ. 1784 เดวี่ได้เข้าเรียนขั้นต้นที่โรงเรียนเพนแซนซ์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1794 พ่อของเดวี่เสียชีวิตอีกทั้งยังทิ้งหนี้สิ้นไว้ให้เขาต้องชดใช้อีกจำนวนหนึ่งทำให้เดวี่ต้องลาออกจากโรงเรียนและหางานทำเดวี่ได้งานทำในตำแหน่งผู้ช่วยปรุงยาของศัลยแพทย์อยู่หนึ่งระหว่างที่เขาทำงานอยู่ที่นี่เขามีโอกาสได้อ่านหนังสือจำนวนมากรวมถึงหนังสือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ด้วย ทำให้เขามีความสนใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เดวี่ได้เริ่มทำการทดลองวิทยาศาสตร์โดยใช้ห้องทดลองของเจ้านายที่อยู่ชั้นบนสุดทำการทดลองในครั้งแรก ๆ เดวี่ได้ทำการทดลองตามอย่างในหนังสือเท่านั้น แต่ต่อมาเดวี่ได้ทำการทดลองในเรื่องที่เขาสนใจซึ่งเป็นผลที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จ

เดวี่มีโอกาสได้รู้จักกับนักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงหลายท่าน เช่น เจมส์ วัตต์ จูเนียร์ (James Watt Jr.) และ ดร.กิลเบิร์ต(Dr.Gillbert) ประธานราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน (Royal Society of London) ต่อมาในปี ค.ศ. 1798 เดวี่ได้เข้าทำงานในตำแหน่งผู้ช่วย และผู้ดูแลห้องทดลองวิทยาศาสตร์ของ ดร.โทมัส เบดดัส (Dr.Thomas Beddoes) ที่เมืองคลิฟตันในระหว่างที่เดวี่ทำงานอยู่กับเบดดัส เขามีโอกาสได้ศึกษาวิชาเคมี การใช้ยา และวิธีการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ทำให้เดวี่เป็นผู้ที่มีความรู้กว้างขวางเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เป็นอย่างดี

ในปี ค.ศ. 1798 เขาได้เริ่มต้นการทดลองเกี่ยวกับสมบัติของก๊าซในการรักษาโรค และในที่สุดเดวี่ก็ได้ค้นพบสมบัติของก๊าซไนตรัสออกไซด์ (Nitrous oxide) ซึ่งเป็นก๊าซที่มีพิษร้ายแรงมาก การทดลองจึงต้องเป็นไปด้วยความระมัดระวัง ดังนั้นเดวี่จึงได้ทำการทดลองกับตัวเอง เมื่อเขาทดลองสูดดมก๊าซชนิดนี้เข้าไปจึงพบว่า มันทำให้เขารู้สึกสดชื่นและอยากหัวเราะ ดังนั้นเขาจึงตั้งชื่อก๊าซชนิดนี้ใหม่ว่า "ก๊าซหัวเราะ" ต่อมาเขาได้พบสมบัติของก๊าซไนตรัสออกไซด์เพิ่มเติมว่าเมื่อสูดดมก๊าซชนิดนี้เข้าไปมาก ๆ จะทำให้หมดสติไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง การค้นพบครั้งนี้เกิดขึ้นจากเดวี่ได้สูดดมก๊าซชนิดนี้เข้าไปในปริมาณที่มากกว่าปกติ ทำให้เขาหมดสติไป การค้นพบครั้งนี้ของเดวี่ถือว่ามีประโยชน์อย่างมากสำหรับวงการแพทย์ เนื่องจากแพทย์ได้นำก๊าซชนิดนี้มาทำให้ผู้ป่วยหมดสติในระหว่างการผ่าตัด หรือรักษาแผลฉกรรจ์มาก ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องทนทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวดอีกต่อไป แต่ต่อมาไม่นานนักเดวี่ได้หยุดการทดลองไปชั่วระยะหนึ่งเนื่องจากการทดลองในลักษณะเดียวกันนี้ ทำให้เขาล้มป่วยจากการสูดดมก๊าซที่มีพิษชนิดร้ายแรงเข้าไป

จากการค้นพบสมบัติของก๊าซไนตรัสออกไซด์ทำให้เดวี่เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงและในปี ค.ศ. 1800 เขาได้รับเชิญให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่ราชบัณฑิตยสภา (Royal Institution) ครั้งแรกที่เดวี่พบกับรัมฟอร์ด รัมฟอร์ดยังไม่มีความ เชื่อถือในตัวเดวี่เท่าไหร่นัก เพราะเดวี่ยังดูอ่อนทั้งประบการณ์และความรู้ รัมฟอร์ดจึงขอทดสอบเดวี่ก่อน ซึ่งเดวี่สามารถ แสดงให้รัมฟอร์ดเห็นถึงความสามารถในการแสดงปาฐกถาได้เป็นอย่างดี การที่เดวี่สามารถพูดปาฐกถาได้ดีก็เพราะเขาหัดพูดต่อหน้ากระจกมาตั้งแต่เด็ก เมื่อรัมฟอร์ดยอมรับในตัวเดวี่แล้ว เขาได้มอบหมายงานให้กับเดวี่หลายอย่าง ได้แก่ ทำการทดลองวิทยาศาสตร์
จัดแสดงปาฐกถา และสอนหนังสือให้กับคนยากจน และด้วยความสามารถของเดวี่ ภายใน 1 ปี เขาได้เลื่อนตำแหน่งให้เป็นศาสตราจารย์ประจำสถาบัน และผู้อำนวยการห้องทดลอง เดวี่ได้เดินทางไปปาฐกถาที่ราชบัณฑิตยสภา ก็มักจะมีคนเข้าชมกันอย่างหนาแน่นล้นหลามทุกครั้งไป เดวี่ได้แสดงปาฐกถาในหลายหัวข้อ หัวข้อการปาฐกถาที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ การฟอกหนังอีกทั้งการบรรยายเรื่องนี้ ทำให้เขาได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกของราชสมาคมเกษตร (Agriculture of the Royal Institution) ในปี ค.ศ. 1802 นอกจากการแสดงปาฐกถาแล้วเดวี่ยังใช้เวลาส่วนที่เหลือในการค้นคว้าทดลองวิทยาศาสตร์ ซึ่งเขา
ทุ่มเทให้กับงานทดลองอย่างมาก แม้ว่าการทดลองในครั้งแรก ๆ จะล้อมเหลวอยู่บ่อยครั้ง แต่เดวี่ก็ไม่ละความพยายาม

การค้นคว้าความลับเกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้เกิดความร้อน เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้นให้ความสนใจเป็นอย่างมาก แม้แต่เดวี่เองก็ให้ความสนใจเช่นกัน เดวี่ได้ทำการทดลองหาความร้อนโดยการนำน้ำแข็งสองก้อนมาถูกัน ปรากฏว่าน้ำแข็งบริเวณที่เสียดสีกันละลาย จากผลการทดลองเดวี่ตั้งข้อสังเกตว่า ความร้อนน่าจะเป็นตัวที่ทำให้น้ำแข็งละลาย แต่ความร้อนมาจากที่ใด จากนั้นเดวี่จึงสร้างเครื่องสำหรับการทดลองขึ้นมา โดยมีลักษณะเป็นหลอดแก้วสุญญากาศ สามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในจุดเยือกแข็งได้จากนั้นจึงใส่น้ำแข็งลงไป 2 ก้อน โดยใช้กลไกควบคุมให้น้ำแข็ง 2 ก้อนนี้ เสียดสีกัน ปรากฏว่าเมื่อน้ำแข็งเสียดสีกันน้ำแข็งละลายจากผลการทดลองเดวี่สรุปได้ว่าความร้อนเป็นตัวการที่ทำให้น้ำแข็งละลาย ซึ่งเกิดจากการสั่นสะเทือนของอะตอมของสสารที่เกิดจากการเสียดสี

ในระหว่างนี้มีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านให้ความสนใจเกี่ยวกับไฟฟ้า พร้อมทั้งค้นพบประโยชน์ของไฟฟ้า เดวี่เป็นนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับไฟฟ้าเช่นกัน เดวี่ได้ทดลองโดยการนำลวดมาต่อเข้ากับขั้วบวกและขั้วลบของแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ที่เขาพบในห้องทดลองของรัมฟอร์ด เมื่อเอาปลายของลวดทั้งสองเข้ามาใกล้ ๆ กัน ปรากฏว่าเกิดประกายไฟกระโดดข้ามไปมา โดยประกายไฟกระโดดมีลักษณะโค้งเล็กน้อยอีกทั้งมีแสงสว่างออกมาด้วยต่อมาเขาได้ทำการทดลองเช่นนี้ในสุญญากาศและได้ผลลัพธ์ออกมาเหมือนกันจากผลการทดลองครั้งนี้ เดวี่ได้นำหลักการนี้ไปประดิษฐ์หลอดไฟ เขาตั้งชื่อหลอดไฟฟ้าชนิดนี้ว่า Arc Light

การทดลองเกี่ยวกับไฟฟ้าของเดวี่ ยังดำเนินต่อไปหลังจากประสบความสำเร็จในครังแรกเดวี่ได้ทำการทดลองแยกธาตุด้วยกระแสไฟฟ้า ซึ่งเขานำแบบอย่างมาจากนิคอสัน ที่สามารถแยกก๊าซไฮโดรเจนและออกซิเจนได้ แต่เดวี่ทำการทดลองอย่างจริงจังและสามารถแยกธาตุได้มากกว่านิคอสันเสียอีก ธาตุที่เดวี่สามารถแยกได้ เช่น โซเดียมไฮดรอกไซด์ หรือโซดาไฟ (Sodium hydroxide) ซึ่งเป็นของแข็ง สีขาว น้ำหนักเบา สามารถลอยน้ำได้ เมื่อถูกน้ำจะระเบิด และลุกเป็นไฟได้ อีกทั้งต้องเก็บรักษาไว้ในน้ำมันเนื่องจากสารชนิดนี้ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนทำให้เปลี่ยนสีสารชนิดนี้ถือว่ามีประโยชน์อย่างมากในวงอุตสาหกรรม เพราะใช้ประโยชน์ในการหาความบริสุทธิ์ของน้ำมัน และทำก๊าซเพื่อบรรจุในหลอดไฟฟ้าที่ให้แสงสว่าง ผลงานที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ การแยกสารประกอบของน้ำได้ เดวี่พบว่าน้ำประกอบไปด้วยธาตุ 2 ชนิด คือ ออกซิเจน และไฮโดรเจน นอกจากนี้ยังมีแมกนีเซียม แคลเซียมและโพแทสเซียม เป็นต้น

จากผลงานการแยกธาตุด้วยไฟฟ้าของเดวี่ ในปี ค.ศ. 1812 เดวี่ได้รับพระราชทานเหรียญทองจากราชบัณฑิตยสภาแห่งฝรั่งเศส (Royal Institute of France) และได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสมาคมนี้ด้วย ซึ่งถือว่าเป็นเกียรติสำหรับเดวี่ อย่างมาก เนื่องจากในขณะนั้น อังกฤษและฝรั่งเศสได้ทำสงครามกันอยู่ แต่ความสามารถของเขาก็แสดงให้เห็นว่าวิทยาศาสตร์ อยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมือง ต่อมาเดวี่ได้รับพระราชทานยศอัศวิน (Knight) จากกษัตริย์

ในปี ค.ศ. 1815 หลังจากที่เขาเดินทางกลับจากท่องเที่ยวในทวีปยุโรป เจ้าของเหมืองและเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งได้มาขอร้องให้ราชบัณฑิตยสภา ช่วยแก้ไขปัญหาเหมือนถ่ายหินระเบิด เนื่องจากภายในเมืองมีก๊าซที่สามารถติดไฟได้ซึ่งคนงานเหมือนเรียกก๊าซชนิดนี้ว่า "ไฟอับ" และเมื่อก๊าซทำปฏิกิริยากับเปลวไฟทำให้เกิดการระเบิดขึ้นภายในเหมือง ซึ่งส่งผลให้คนเสียชีวิตจากเหตุการณ์แต่ละครั้งจำนวนมาก แต่ก็ไม่สามารถเลิกใช้โคมไฟชนิดนี้ได้เนื่องจากภายในเหมืองมืดมาก และไม่มีอุปกรณ์ชนิดอื่นทดแทน เมื่อเกิดระเบิดขึ้นบ่อยครั้งทำให้กรรมกรเหมือนหวาดกลัว และไม่ยอมทำงาน ส่งผลกระทบต่อวงการอุตสาหกรรมอย่างมากเมื่อเดวี่เป็นสมาชิกของราชบัณฑิตยสภา และเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงและผลงานยอดเยี่ยมที่สุดในขณะนัน จึงเป็นผู้รับหน้าที่ในการแก้ไขปัญหานี้ เดวี่เริ่มต้นศึกษาสาเหตุของเหมืองระเบิดว่าเกิดจากก๊าซไฮโดรเจนและคาร์บอน ซึ่งเป็นก๊าซที่ไวไฟมากเมื่อถูกเปลวไฟจะลุกไหม้และลุกลามอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเดวี่จึงออกแบบตะเกียงชนิดหนึ่งขึ้น ชื่อว่าตะเกียงนิรภัย หรือ ตะเกียงเดวี่ (Safety Lamps or Davy Lamps) โดยลักษณะตะเกียงของเดวี่จะล้อมรอบด้วยตะแกรงลวดเส้นบาง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เปลวไฟแลบออกมา และแม้ว่าก๊าซจะสามารถเข้าไปในตะเกียงได้ตะแกรงลวดก็จะป้องกันเปลวไฟ
ไม่ให้ลุกลามออกมาข้างนอกได้ แม้จะมีตะแกรงลวดกั้นตะเกียงชนิดนี้ก็ยังให้แสงสว่างได้ตามปกติ ตะเกียงนิรภัยของเดวี่สามารถป้องกันเหตุการณ์เหมือนระเบิดได้เป็นอย่างดี จากผลงานชิ้นนี้เดวี่ได้รับพระราชทานตำแหน่งบาโรเนต (Baronet) และต่อมาเดวี่ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานราชบัณฑิตยสภาอีกด้วย

เดวี่ได้ทำงานอย่างหนักเพื่อปรับปรุงตะเกียงนิรภัยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จนกระทั่วล้มป่วย หมอแนะนำให้เขาเดินทางไปตากอากาศในที่ที่มีอากาศเย็นสบายกว่าที่อังกฤษ เดวี่ได้ทำตามคำแนะนำของหมด เขาได้เดินทางไปยังกรุงโรม ประเทศอิตาลีแต่นั้นก็ไม่ทำให้สุขภาพของเขาดีขึ้น แต่อาการกลับหนักขึ้นจนกระทั่งเสียชีวิตในวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1829 ที่เมืองเจนีวาประเทศสวิตเซอร์แลนด์



ที่มา
http://siweb.dss.go.th/Scientist/Scientist/Humphrey%20Davy.html