จอร์จ เวสติงเฮาส์ : George Westinghouse
เกิด วันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ.1845 ที่รัฐนิวยอร์ค (New York) ประเทศสหรัฐอเมริกา (United State of America)
เสียชีวิต วันที่ 12 มีนาคม ค.ศ.1914 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา (United State of America)
ผลงาน
- ปรับปรุงระบบการหยุดรถของรถไฟ
- ออกแบบระบบการส่งก๊าซธรรมชาติ
เวสติงเฮาส์เกิดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ.1845 ที่รัฐนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา บิดาของเขาเป็นชาวยุโรปชื่อว่า จอร์จ เวสติงเฮาส์ ซีเนียร์ (George Westinghouse Senior) แต่ได้อพยพมาอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา บิดาของเขาได้เปิดบริษัทผลิตเครื่องมือกสิกรรมขึ้นชื่อว่า จึ.เวสติงเฮาส์ (G. Westinghouse and Company Limit) และด้วยเหตุนี้เวสติงเฮาส์จึงมีความสนใจและศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเครื่องยนต์กลไกมาตั้งแต่เด็ก ต่อมาในปี ค.ศ.1855 บิดาของเขาได้ย้ายไปสร้างโรงงานที่เมืองสเชเนคทาดี (Schenectady) เวสติงเฮาส์จึงเข้าเรียนขั้นต้นที่โรงเรียนในเมืองแห่งนี้
- ออกแบบระบบการส่งก๊าซธรรมชาติ
เวสติงเฮาส์เกิดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ.1845 ที่รัฐนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา บิดาของเขาเป็นชาวยุโรปชื่อว่า จอร์จ เวสติงเฮาส์ ซีเนียร์ (George Westinghouse Senior) แต่ได้อพยพมาอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา บิดาของเขาได้เปิดบริษัทผลิตเครื่องมือกสิกรรมขึ้นชื่อว่า จึ.เวสติงเฮาส์ (G. Westinghouse and Company Limit) และด้วยเหตุนี้เวสติงเฮาส์จึงมีความสนใจและศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเครื่องยนต์กลไกมาตั้งแต่เด็ก ต่อมาในปี ค.ศ.1855 บิดาของเขาได้ย้ายไปสร้างโรงงานที่เมืองสเชเนคทาดี (Schenectady) เวสติงเฮาส์จึงเข้าเรียนขั้นต้นที่โรงเรียนในเมืองแห่งนี้
หลังจากนั้นเขาได้เข้าศึกษาที่วิทยาลัยยูเนียม (Union College) แต่เรียนอยู่ได้ไม่นานเขาก็ลาออกจากโรงเรียน เพราะต้องการศึกษาภาคปฏิบัติมากกว่าการนั่งเรียนทฤษฎีอย่างน่าเบื่อหน่ายในชั้นเรียน หลังจากลาออกจากโรงเรียนแล้วเขาได้เข้าทำงานในบริษัทของบิดาในตำแหน่งชางเครื่อง นอกจากนี้เขาได้ใช้เวลาว่างออกแบบเครื่องจักรขึ้นมาเครื่องหนึ่ง เมื่อเขาออกแบบเสร็จเวสติงเฮาส์ได้ร่วมหุ้นกับเพื่อน ๆ ตั้งบริษัทสร้างเครื่องยนต์ยกรถไฟตกราง ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี บริษัทรถไฟต่างก็สั่งซื้อไว้ใช้งาน
หลังจากนั้น จอร์จ สตีเฟนสัน (George Stepenson) สามารถสร้างและพัฒนาหัวจักรรถไฟให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จนกระทั่งกิจการรถไฟมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว แต่สิ่งสำคัญที่เป็นปัญหาอย่างหนึ่งของการเดินรถไฟก็คือ การหยุดขบวนรถไฟ ซึ่งในขณะนั้นต้องใช้พนักงานห้ามล้อในแต่ละขบวนดึงโซ่ให้ตึง ก่อนที่รถจะถึงสถานีประมาณ 1/2 ไมล์ ซึ่งอาจจะไม่ พร้อมกันเลยทีเดียว ทำให้เกิดการชนกระแทกกันระหว่างขบวนได้ง่าย เป็นอันตรายต่อผู้โดยสารมาก และทำให้พนักงาน ห้ามล้อต้องเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ เนื่องจากที่ห้ามล้อของรถไฟขบวนสุดท้ายอยู่บนหลังคา พนักงานห้ามล้อต้องปีนขึ้นไปบนหลังคา บางครั้งก็ตกลงมา โดยเฉพาะในฤดูหนาวและฤดูฝน การปีนขึ้นหลังคาเป็นไปด้วยความยากลำบาก นอกจากนี้ยังมีอุโมงค์ สะพาน ที่เป็นอุปสรรค และก่อให้เกิดอันตรายได้อีก แม้ว่าจะมีบริษัทรถไฟหลายแห่งพยายามหาวิธีสร้างระบบห้ามล้อให้มีประสิทธิภาพ และปลอดภัยมากกว่า แต่ก็ยังไม่มีผู้ใดทำสำเร็จ
เวสติงเฮาส์ก็เป็นผู้หนึ่งที่ให้ความสนใจในเรื่องนี้ แต่ในขณะนั้นเวสติงเฮาส์ได้เกิดความขัดแย้งกับหุ้นส่วน เขาจึงแยกออกมาตั้งบริษัทของตนเองที่เมืองพิทซเบิร์ก รัฐเพนน์ซิลวาเนีย ในระหว่างนี้เขาได้ทำการศึกษาระบบห้ามล้ออย่างละเอียด เวสติงเฮาส์ สามารถคิดระบบห้ามล้อด้วยแรงดันอากาศ ซึ่งเขาได้แรงบันดาลใจมาจากการใช้อากาศอัดในการขุดอุโมงค์รถไฟลอดใต้ภูเขาเซนิส ระบบห้ามล้อของเวสติงเฮาส์ประกอบไปด้วยลูกสูบที่ใช้พลังงานไอน้ำ สำหรับอันอากาศแล้วส่งไปตามท่อลงไปนี้ล้อรถไฟทุกล้อในขบวน วิธีนี้ไม่ต้องใช้พนักงานห้ามล้อไปเสี่ยงอันตรายอีกต่อไป เพราะคนขับรถไฟสามารถบังคับรถไฟให้หยุดโดยตรง
ผลงานของเขาชิ้นนี้ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก เวสติงเฮาส์ได้ก่อตั้งบริษัทขึ้นเพื่อผลิตระบบห้ามล้อโดยใช้ชื่อว่า "บริษัทห้ามล้อลมเวสติงเฮาส์" บริษัทของเวสติงเฮาส์ได้ขยายสาขาออกไปตามประเทศต่าง ๆ หลายแห่ง ได้แก่ ฝรั่งเศส อังกฤษ และ รัสเซีย
ต่อมาเวสติงเฮาส์ได้พัฒนาและปรับปรุงระบบห้ามล้อของเขา จนสามารถใช้ได้ในรถไฟบรรทุกสินค้าที่มีขบวนยาว ๆ ถึง 50 ตู้ ได้ นอกจากนี้เขายังทำให้การหยุดรถไฟมีความนิ่มนวลมากขึ้น ทำให้มีผู้คนหันมานิยมการโดยสารรถไฟมากขึ้นกว่าแต่ก่อน นอกจานี้เขายังประดิษฐ์อุปกรณ์ควบคุมการเดินรถไฟ หรือเครื่องสับรางรถไฟโดยใช้อากาศอัด และควบคุมด้วยไฟฟ้า
ในขณะนั้นได้มีการขุดพบบ่อก๊าซธรรมชาติบริเวณใกล้ ๆ กับบ้านของเวสติงเฮาส์ เขาจึงทดลองขุดหาก๊าซธรรมชาติภายในบริเวณบ้านของเขาดูบ้าง ปรากฏว่าบริเวณนั้นเป็นบ่อก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่มาก ดังนั้นเวสติงเฮาส์จึงได้ออกแบบวาล์วเปิด-ปิดบ่อก๊าซธรรมชาติ และออกแบบวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติไปยังโรงงานภายในเมืองพิทซเบิร์ก เขาได้ตั้งบริษัทชื่อว่า "บริษัทฟิลลาเดเฟีย" เพื่อจัดจำหน่ายก๊าซ แม้ว่าในตอนแรกทางผู้บริหารรัฐไม่ยินยอม เพราะเกรงว่าจะเกิดอันตราย แต่ในที่สุดก็ต้องยอมเพราะประโยชน์ของก๊าซธรรมชาติ ทำให้เมืองพิทซเบิร์กกลายเป็นศูนย์กลางในการถลุงแร่เหล็กที่ใหญ่ที่สุด นอกจากนี้เขายังได้ปรับปรุงเครื่องวัดปริมาณก๊าซเครื่องเจาะบ่อก๊าซ และปรับปรุงระบบส่งก๊าซ
ในขณะนั้นโทมัส อัลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison) ได้ก่อตั้งบริษัทผลิตกระแสไฟฟ้าขึ้นมา และจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้กับประชาชนใช้ได้ทั่วไปแล้วก็ตาม แต่ก็ยังประสบปัญหาค่าไฟฟ้าแพงอยู่ เนื่องจากต้องใช้สายไฟขนาดใหญ่ และต้องสร้างโรงงาผลิตกระแสไฟฟ้าขึ้นทุก ๆ 2,000-8,000 ไมล์ เพราะแรงดันไฟฟ้าต่ำ เวสติงเฮาส์จึงได้ตั้งบริษัทขึ้นเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และจัดจำหน่ายกระแสไฟฟ้าชื่อว่า "บริษัทไฟฟ้าเวสติงเฮาส์" โดยเขาได้ดัดแปลงระบบการส่งไฟฟ้าจากกระแสตรงมาเป็นกระแสสลับ ซึ่งทำให้ไม่ต้องใช้สายไฟขนาดใหญ่ และสร้างโรงงานไฟฟ้าหลายแห่ง ทำให้ราคาค่าไฟถูกลง ในปี ค.ศ.1886 ได้มีการส่งไฟฟ้ากระแสสลับไปยังเมืองบัฟฟาโลเป็นครั้งแรก ต่อมาระบบนี้ก็เป็นที่นิยมกันมาก ทำให้เกิดความขัดแย้งกับริษัทผลิตไฟฟ้าของเอดิสัน แต่ในที่สุดเรื่องก็ต้องยุติลงเมื่อเวสติงเฮาส์นำโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากน้ำตกไนแองการาไปแสดงในงานสินค้าโลกที่เมืองชิคาโก และแสดงให้เห็นว่าไฟฟ้ากระแสสลับมีประสิทธิภาพในการส่งมากกว่ากระแสตรง
แม้ว่าเขาจะประสบความสำเร็จทั้งชื่อเสียงและเงินทอง เขาก็ยังค้นคว้าและปรับปรุงงานด้านผลิตกระแสไฟฟ้าอยู่ตลอดรวมถึงประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ออกมาอีกหลายชนิด ในปี ค.ศ.1913 เวสติงเฮาส์ได้ล้มป่วยและอาการของเขาทรุดหนักลงเรื่อย ๆ จนไม่สามารถเดินได้ และเสียชีวิตในวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ.1914 ศพของเขาถูกฝังอยู่ที่สุสานแห่งชาติอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย ซึ่งเป็นสุลานที่ฝังศพบุคคลสำคัญของประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ในปี ค.ศ.1930 พนักงานของบริษัทเวสติงเฮาส์ ได้ร่วมใจกันบริจาคเงินเพื่อสร้างอนุสาวรีย์ของเวสติงเฮาส์ขึ้นที่สวนสาธารณะเชเฮนเลย์ (Schenley Park) และในปี ค.ศ.1935 ทางมหาวิทยาลัยนิวยอร์คได้หล่อรูปครึ่งตัวของเวสติงเฮาส์ตั้งไว้ที่ Hall of Fame for Great America ร่วมกับบุคคลสำคัญท่านอื่นของประเทศ
ที่มา
http://siweb.dss.go.th/Scientist/Scientist/George%20Westinghouse.html
ในขณะนั้นได้มีการขุดพบบ่อก๊าซธรรมชาติบริเวณใกล้ ๆ กับบ้านของเวสติงเฮาส์ เขาจึงทดลองขุดหาก๊าซธรรมชาติภายในบริเวณบ้านของเขาดูบ้าง ปรากฏว่าบริเวณนั้นเป็นบ่อก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่มาก ดังนั้นเวสติงเฮาส์จึงได้ออกแบบวาล์วเปิด-ปิดบ่อก๊าซธรรมชาติ และออกแบบวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติไปยังโรงงานภายในเมืองพิทซเบิร์ก เขาได้ตั้งบริษัทชื่อว่า "บริษัทฟิลลาเดเฟีย" เพื่อจัดจำหน่ายก๊าซ แม้ว่าในตอนแรกทางผู้บริหารรัฐไม่ยินยอม เพราะเกรงว่าจะเกิดอันตราย แต่ในที่สุดก็ต้องยอมเพราะประโยชน์ของก๊าซธรรมชาติ ทำให้เมืองพิทซเบิร์กกลายเป็นศูนย์กลางในการถลุงแร่เหล็กที่ใหญ่ที่สุด นอกจากนี้เขายังได้ปรับปรุงเครื่องวัดปริมาณก๊าซเครื่องเจาะบ่อก๊าซ และปรับปรุงระบบส่งก๊าซ
ในขณะนั้นโทมัส อัลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison) ได้ก่อตั้งบริษัทผลิตกระแสไฟฟ้าขึ้นมา และจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้กับประชาชนใช้ได้ทั่วไปแล้วก็ตาม แต่ก็ยังประสบปัญหาค่าไฟฟ้าแพงอยู่ เนื่องจากต้องใช้สายไฟขนาดใหญ่ และต้องสร้างโรงงาผลิตกระแสไฟฟ้าขึ้นทุก ๆ 2,000-8,000 ไมล์ เพราะแรงดันไฟฟ้าต่ำ เวสติงเฮาส์จึงได้ตั้งบริษัทขึ้นเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และจัดจำหน่ายกระแสไฟฟ้าชื่อว่า "บริษัทไฟฟ้าเวสติงเฮาส์" โดยเขาได้ดัดแปลงระบบการส่งไฟฟ้าจากกระแสตรงมาเป็นกระแสสลับ ซึ่งทำให้ไม่ต้องใช้สายไฟขนาดใหญ่ และสร้างโรงงานไฟฟ้าหลายแห่ง ทำให้ราคาค่าไฟถูกลง ในปี ค.ศ.1886 ได้มีการส่งไฟฟ้ากระแสสลับไปยังเมืองบัฟฟาโลเป็นครั้งแรก ต่อมาระบบนี้ก็เป็นที่นิยมกันมาก ทำให้เกิดความขัดแย้งกับริษัทผลิตไฟฟ้าของเอดิสัน แต่ในที่สุดเรื่องก็ต้องยุติลงเมื่อเวสติงเฮาส์นำโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากน้ำตกไนแองการาไปแสดงในงานสินค้าโลกที่เมืองชิคาโก และแสดงให้เห็นว่าไฟฟ้ากระแสสลับมีประสิทธิภาพในการส่งมากกว่ากระแสตรง
แม้ว่าเขาจะประสบความสำเร็จทั้งชื่อเสียงและเงินทอง เขาก็ยังค้นคว้าและปรับปรุงงานด้านผลิตกระแสไฟฟ้าอยู่ตลอดรวมถึงประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ออกมาอีกหลายชนิด ในปี ค.ศ.1913 เวสติงเฮาส์ได้ล้มป่วยและอาการของเขาทรุดหนักลงเรื่อย ๆ จนไม่สามารถเดินได้ และเสียชีวิตในวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ.1914 ศพของเขาถูกฝังอยู่ที่สุสานแห่งชาติอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย ซึ่งเป็นสุลานที่ฝังศพบุคคลสำคัญของประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ในปี ค.ศ.1930 พนักงานของบริษัทเวสติงเฮาส์ ได้ร่วมใจกันบริจาคเงินเพื่อสร้างอนุสาวรีย์ของเวสติงเฮาส์ขึ้นที่สวนสาธารณะเชเฮนเลย์ (Schenley Park) และในปี ค.ศ.1935 ทางมหาวิทยาลัยนิวยอร์คได้หล่อรูปครึ่งตัวของเวสติงเฮาส์ตั้งไว้ที่ Hall of Fame for Great America ร่วมกับบุคคลสำคัญท่านอื่นของประเทศ
ที่มา
http://siweb.dss.go.th/Scientist/Scientist/George%20Westinghouse.html