วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ชาร์ล โรเบิร์ต ดาร์วิน : Charles Robert Darwin

ชาร์ล โรเบิร์ต ดาร์วิน : Charles Robert Darwin

เกิด วันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1809 ที่เมืองชรูเบอรี่ (Shrubbery) ชรอพไชร์ (Shrophire) ประเทศอังกฤษ (England)
เสียชีวิต วันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1882 ที่เมืองชรูเบอรี่ (Shrubbery) ชรอพไชร์ (Shrophire) ประเทศอังกฤษ (England)
ผลงาน - ตั้งทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
- เขียนหนังสือชื่อว่า The Original of Species หรือ กำเนิดพืชและสัตว์ต่าง ๆ

การถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ จากการเดินทางสำรวจดินแดนชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกตอนมต้และมหาสมุทรแปซิฟิกของ
ดาร์วิน ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพภูมิประเทศภูมิอากาศ ลักษณะสัตว์ และพืช รวมถึงชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน
ในดินแดนต่าง ๆ และที่สำคัญที่สุดในการสำรวจครั้งนี้ คือ การที่มนุษย์ได้ล่วงรู้ความลับทางธรรมชาติที่เกี่ยวกับการวิวัฒนาการ
ทั้ง ของสัตว์ และของพืช รวมถึงมนุษย์ด้วย โดยดาร์วินกล่าวว่ามนุษย์นั้นมีวิวัฒนาการมาจากลิง ซึ่งเป็นความจริงที่ทุกคนยอมรับ
มาจนทุกวันนี้ อาจกล่าวได้ว่าหากการเดินทางสำรวจโลกครั้งนั้นขาดนักธรรมชาติผู้ยิ่งใหญ่นามว่า ชาร์ล ดาร์วิน สาธารณชนอาจ
จะไม่มีโอกาสได้รับรู้เรื่องราวมหัศจรรย์เหล่านี้ได้เลย

ดาร์วินเกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1809 ที่เมืองชรูเบอรี่ (Shrubbvery) ชรอพไชร์ (Shrophire) ประเทศอังกฤษ
(England) ในครอบครัวที่มีฐานะมั่งคั่งและมีชื่อเสียงมากที่สุดครอบครัวหนึ่งของอังกฤษบิดาของดาร์วินเป็นนายแพทย์ชื่อว่า
โรเบิร์ต วอริง ดาร์วิน (Robert Waring Darwin) บิดาของดาร์วินต้องการให้เขาศึกษาวิชาแพทย์ เพื่อเป็นแพทย์เช่นเดียวกัน
แต่ดาร์วินไม่สนใจการศึกษาไม่ว่าจะวิชาอะไร เขามักใช้เวลาส่วนใหญ่กับการเที่ยวเล่น ยิงนก ตกปลา ไล่จับแมลงชนิดต่าง ๆ
เพื่อการสะสม และใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ พฤติกรรมของดาร์วินสร้างความหนักใจให้กับบิดาของเขาอย่างมาก เนื่องจาก
เกรงว่าดาร์วินจะนำความเสื่อมเสียมาสู่ตระกูลได้ ดังนั้นบิดาจึงบังคับให้ดาร์วินเรียนวิชาแพทย์ ถึงแม้ว่าดาร์วินจะไม่ต้องการ
แต่บิดาของเขาก็ยังบังคับให้ดาร์วินเรียนแพทย์จนได้

ในปี ค.ศ. 1825 พ่อของดาร์วินได้ส่งเขาไปเรียนวิชาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยเอดินเบิร์ก (Edinburg University) พร้อมกับ
พี่ชายของเขา ดาร์วินต้องเรียนวิชาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยเอดินเบิร์กอย่างเบื่อหน่าย ในระหว่างที่เขานั่นฟังบรรยายก็มักจะนั่งหลับ
ไม่ก็เหม่อลอยมองออกไปนอกหน้าต่าง อีกทั้งเขายังกลัวการผ่าตัดศพอย่างมากอีกด้วย ทำให้ดาร์วินเรียนอยู่ได้เพียง 2 ปี เท่านั้น
ก็ต้องลาออกจากมหาวิทยาลัย เมื่อดาร์วินลาออกจากมหาวิทยาลัยเขาก็ออกเที่ยวเตร่และใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการยิงนกตกปลา
พ่อของดาร์วินรู้สึกเป็นห่วงลูกชายคนนี้มากเกรงว่าต่อไปภายหน้าจะลำบาก เพราะไม่มีความรู้พอที่จะประกอบอาชีพได้ ดังนั้นพ่อ
จึงส่งดาร์วินไปเรียนต่อวิชาเกี่ยวกับศาสนา ซึ่งดาร์วินก็ไม่ได้ปฏิเสธแต่อย่างใด แต่ก่อนที่จะเรียนศาสนานั้นต้องเรียนให้จบ
ปริญญาตรีเสียก่อน การ์วินจึงเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Cambridge University) ในระหว่างที่เขาเรียนอยู่ที่
มหาวิทยาลัยแหงนี้ เขาได้มีโอกาสเขาฟังการบรรยายวิชาธรรมชาติอยู่เสมอซึ่งเป็นสิ่งที่เขาชื่นชอบมาตั้งแต่เด็ก อีกทั้งดาร์วิน
ยังได้ศึกษาหาความรู้ด้านนี้จากตำรา และอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญอีก 2 ท่าน คือศาสตราจารย์เฮนสโลว์ (P.Henslow) ผู้เชี่ยวชาญ
ทางด้านพฤษฏศาสตร์ และศาสตราจารย์เซดจ์วิค (P.Sedgwick) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านธรณีวิทยาทั้งสองได้พาดาร์วินออก
สำรวจตามสถานที่ต่าง ๆ อยู่เสมอ ซึ่งดาร์วินก็ให้ความสนใจเป็นอย่างดีดาร์วินสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีจาก
มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในปี ค.ศ. 1829

แต่ดาร์วินก็ยังคงศึกษาวิชาต่าง ๆ ที่เขาสนใจต่ออีก 1 ปี และในระหว่างปีนี้เองทางราชนาวีอังกฤษมีโครงการจะออกเดินทาง
สำรวจสภาพภูมิประเทศ บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกตอนมต้และมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งยังไม่มีผู้ใดเคยทำการสำรวจ
มาก่อน โดยจะใช้เรือหลวงบีเกิ้ล (H.M.S.Beagle) เป็นเรือที่ใช้ในการเดินทางสำรวจครั้งนี้ พร้อมกับกับกัปตันวิทซ์รอย
(Captain Witzroy) เป็นผู้บังคับการเรือ แต่ก่อนจะออกเดินทางกัปตันวิทซ์รอยต้องการนักธรรมชาติวิทยาเดินทางไปกับคณะ
สำรวจครั้งนี้ด้วย กัปตันได้ประกาศรับอาสาสมัครอยู่เป็นเวลานานก็ไม่มีผู้ใดสนใจเพราะนักธรรมชาติที่จะเดินทางไปกับเรือลำนี้
จะต้องออกต่าใช้จ่ายในการเดินทางครั้งนี้เองทั้งหมดกัปตันจึงเดินทางไปพบกับศาสตราจารย์เฮนสโลว์ เพื่อขอร้องให้ช่วยหา
นักธรรมชาติวิทยาให้ศาสตราจารย์เฮนสโลว์จึงนำข่าวนี้มาบอกแก่ดาร์วิน ซึ่งดาร์วินรู้สึกดีใจมากที่จะได้มีโอกาสออกสำรวจ
ดินแดนที่ยังไม่เคยมีผู้ใดเคยสำรวจมาก่อน อีกทั้งเขาต้องขอค่าใช้จ่ายในการเดินทางในครั้งนี้อีกด้วย เมื่อดาร์วินไปขออนุญาต
ด้วยความที่เป็นห่วงลูกชาย พ่อเขาจึงไม่อนุญาตให้เดินทางในครั้งนี้ ซึ่งทำให้ดาร์วินรู้สึกเสียใจเป็นอันมาก เขาจึงเดินทางไปหา
โจเซียร์ เวดจ์วูด (Josiah Wedgwood) ลุงของเขา และเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟังเพื่อเป็นการปรับทุกข์ ลุงสงสารเขามาก
จึงไปพูดขอร้องแทนกับพ่อของดาร์วิน ในที่สุดพ่อเขาก็อนุญาตให้ดาร์วินออกเดินทางไปกับเรือหลวงบีเกิ้ลได้

เรือหลวงบีเกิ้ลออกเดินทางจากท่าเรือเมืองดาเวนพอร์ต (Davenport Harbor) เมืองพลายเมาท์ (Plymount) ประเทศ
อังกฤษในวันที่ 27ธันวาคม ค.ศ. 1831 โดยแล่นเข้ามหาสมุทรแอตแลนติกเลียบไปตามชายฝั่งทางทิศตะวันตกของทวีปแอฟริกา
โดยเข้าสู่หมู่เกาะคานาร์ เป็นหมู่เกาะแรกซึ่งห่างจากชายฝั่งทวีปแอฟริกาไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 60 ไมล์
ต่อจากนั้นจึงข้างฝั่งไปยังทวีปอเมริกาใต้เข้าสู่ประเทศบราวิล ที่เมืองเรซิเฟ (Recife) ซัลวาดอร์ (Salavdor) และริโอเดอ
จาเนโร (Rio de Janeiro) เพื่อสำรวจลุ่มแม่น้ำอะเมซอน (Amazon) ต่อจากนั้นก็เข้าสู่ประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้
โดยแล่นอ้มไปทางแหลมฮอร์น (Cape Horn) เพื่อเข้าสู่มหาสมุทรแฟซิฟิกตอนใต้ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้เข้า
สำรวจประเทศซิลี (Chile) เมืองวาลปาเรส (Valparais) เรือบีเกิ้ลแล่นเรียบชายฝั่งไปจนถึงประเทศเปรู ซึ่งระหว่างทางเรือ
ได้แวะตามเกาะต่าง ๆ มาโดยตลอด เมื่อสำเรวจประเทศเปรูเสร็จ เรือบีเกิ้ลออกเดินทางไปยังเกาะตาฮิติ (Tahiti Island)
ต่อจากนั้นก็เดินทางสำรวจต่อไปยังตะวันออกของทวีปอเมริกาใต้ เข้าสู่ประเทศนิวซีแลนด์ (New Zealand) ต่อจากนั้นก็
เข้าสู่เกาะแทสมาเนีย (Tasmania Island) ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะออสเตรเลีย และเข้าสำรวจประเทศออสเตรเลีย
ในเวลาต่อมา หลังจากเรือได้เดินทางเพื่อเข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย ผ่านเกาะสุมาตราและชวา เข้าสู่แหลมมะละกา (Malaga Cape)
จากนั้นจึงเข้าสู่เกาะมอริเทียส (Mauritius Island) ซึ่งตั้งอยู่กลางมหาสมุทรอินเดีย และเดินทางต่อมาเรื่อย ๆ จนถึงเมือง
ปอร์ต หลุยส์ (Port Louis) ผ่านแหลมกูดโฮป (Cape of Good Hope) เข้าสู่เกาะเซนต์เฮเลนา (St. Helena) และเข้าสู่
ประเทศบราซิลอีกครั้งหนึ่ง ที่เมืองเปอร์นัมบูโก (Pernumbugo) ต่อจากนั้นเรือบีเกิ้ลได้เข้าจอดที่อ่าวเปอร์โต ปาร์ยา (Porto
Praya) ในหมู่เกาะเคปเวิร์ด (Cape de Verd) และแวะที่เมืองอาโซส (Azores) เป็นแห่งสุดท้ายก่อนเข้าจอดเทียบท่า
ที่เมืองฟอลมัธ (Falmouth) เมืองท่าทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ

การเดินทางครั้งนี้ดาร์วินต้องเผชิญกับอาการเมาคลื่น และอาการเจ็บป่วยอยู่ตลอดวเลาเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง
อย่างรวดเร็วในแต่ละวัน อีกทั้งอากาศที่แตกต่างไปจากที่ดาร์วินคุ้นเคย ถึงอย่างนั้นเขาก็ไม่เคยท้อแท้ จากการเดินทางครั้งนี้เขา
มีโอกาสได้พบเห็นพิช สัตว์สภาพภูมิประเทศที่แปลกตา รวมถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันออกไป เช่น เมื่อเรือบีเกิ้ล
เดินทางไปถึงหมู่เกาะเคปเวิร์ด และจอดที่ท่าเรือเมืองปราเวีย (Pravia) ดาร์วินได้พบกับพืชเขตร้อนที่เขาไม่เคยเห็นมาก่อน
เช่น กล้วยหอม ปาล์ม และต้นมะขาม เป็นต้น อีกทั้งเขายังได้เห็นหินสีขาวที่แข็งมาก และจากการวิเคราะห์ดาร์วินสรุปว่า
หินสีขาวนี้เกิดจากซากหอย และปะการังจากทะเล ซึ่งต่อมาถูกลาวาไหลลงมาทับอีกชั้นหนึ่ง ทำให้หินมีความเข็งมากเป็นพิเศษ
ต่อจากนั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวโลก ทำให้หินสีขาวดันขึ้นมาอยู่เหนือสูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 45 ฟุต

ที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง คือ หมู่เกาะกาลาปาโกส ซึ่งประกอบไปด้วยเกาะถึง 14 เกาะ ในจำนวนนี้มี 5 เกาะ เป็นเกาะขนาดใหญ่
ซึ่งเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวมากถึง 45 ไมล์จากการสำรวจดาร์วินพบว่าเกาะเหล่านี้เกิดจากหินลาวาของภูเขาไฟ
ซึ่งบนเกาะแต่ละเกาะจะมีภูเขาไฟขนาดใหญ่ที่มีความสูงถึง 3,000 - 4,000 ฟุต สภาพโดยทั่วไปของหมู่เกาะกาลาปาโกลแห้งแล้ง
และกันดาร อีกทั้งมีสัตว์ที่มีลักษณะพิเศษอาศัยอยู่ทั่วไปได้แก่ เต่าที่มีน้ำหนักมากถึง 200 ปอนด์ เส้นผ่านศูนย์กลางของกระดอง
ยาวประมาณ 7 ฟุต และมีอายุมากประมาณ 300 - 400 ปี ซึ่งเตาขนาดใหญ่เหล่านี้เป็นที่มาของชื่อเกาะกาลาปาโกส เพราะในภาษา
สเปนกาลาปาโกสแปลว่าเต่ายักษ์ อีกอย่างหนึ่งที่สร้างความประหลาดใจให้กับดาร์วิน คือ กิ้งก่ายักษ์จำนวนมากบริเวณชายฝั่งทะเล
ซึ่งมีขนาดลำตัวยาถึง 4 ฟุต ส่วนพืชบนเกาะนี้ส่วนใหญ่จะเป็นหญ้า ส่วนไม่ยืนต้นก็มีอยู่บ้างและจำนวนน้อย การเดินทางของ
ดาร์วินยังพบกับสิ่งแปลกประหลาดจำนวนมาก ซึ่งล้วนสร้างความตื่นเต้นให้กับดาร์วินแทบทั้งนั้น ดาร์วินได้จดบันทึกทุกเรื่องใน
การเดินทางครั้งนี้อย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นสภาพภูมิอากาศในแต่ละวัน แต่ละสถานที่ สภาพภูมิประเทศ อีกทั้งพันธุ์พืช และสัตว์ ที่เขาได้พบทุกชนิด นอกจากนี้ดาร์วินยังได้เก็บซากพืช ซากสัตว์ เช่น แมลง เปลือกหอย และหิน ไว้เป็นจำนวนมาก บางส่วนดาร์วิน
ได้ส่งมาเก็บไว้ที่บ้านพักในประเทศอังกฤษทางพัสดุไปรษณีย์ แต่บางชิ้นมีขนาดใหญ่ไม่สามารถเก็บมาได้ ดาร์วินจะวาดภาพไว้
อย่างละเอียด โดยภาพที่เขาวาดจะมีสัดส่วนเหมือนจริงทุกประการ และเมืองดาร์วินเดินทางมาถึงเกาะสุมาตรา และเกาะชวา
เขาได้พบกับพืชเขตร้อนเช่นเดียวกับที่พบที่เมืองปราเวีย คือ กล้วยหอม และมะพร้าว นอกจากนี้ดาร์วินยังได้พบกับแมลงปีกแข็ง
และเขาสามารถรวบรวพันธ์ของแมงมุมบนเกาะแห่งนี้ได้ถึง 13 พันธ์ นอกจากนี้แล้ว ดาร์วินยังได้พบกับนก และสัตว์แปลก ๆ
อีกหลายชนิด

เรือบีเกิ้ลใช้เวลาในการเดินทางครั้งนี้ทั้งหมด 5 ปี โดยถึงประเทศอังกฤษในวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1836 เมื่อดาร์วินกลับบ้าน
เขาก็ยังหมกหมุ่นอยู่กับการศึกษาแยกหมวดหมู่ ให้กับซากพืช ซากสัตว์ ที่เขาเก็บมา และในปีเดียวกันนี้ดาร์วินได้ตีพิมพ์ผลงาน
ของเขาออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า A Naturalist's Voyage Around the World ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เขาพบเห็น
มาตลอดระยะเวลา 5 ปี ในการเดินทางสำรวจโลกไปกับเรือบีเกิ้ล

และจากผลงานชิ้นนี้ ดาร์วินได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการธรณีวิทยาสมาคม (Geological Society) ในปี
ค.ศ. 1838 และต่อมาในปี ค.ศ. 1842 ดาร์วินได้ย้ายไปอยู่ที่มณฑลเคนท์ (Kent) ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุง
ลอนดอน ในระหว่างที่เขาพำนักอยู่ที่นี่ดาร์วินได้ทำการศึกษาค้นคึว้าเกี่ยวกับธรรมชาติ พร้อมกับตีพิมพ์ผลงานออกมาอีก 1 เล่ม
ชื่อว่า The Structure and Distribution of Coral Reef ต่อมาอีก 2 ปี ดาร์วินได้ตีพิมพ์ผลงานออกมาอีก 1 เล่มชื่อว่า
Geological Observations of South America และในปี ค.ศ. 1846 ดาร์วินได้ตีพิมพ์ผลงานออกมาอีกเล่ม ชื่อว่า
Geological Observation on Volcanic Island หนังสือทั้ง 3 เล่มนี้ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทางของดาร์วิน
ในการสำรวจโลกกับเรือบีเกิ้ล หลังจากนั้นดาร์วินมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องเพรียง ซึ่งเขาเก็บมาจากชายฝั่งประเทศซิลี เมื่อครั้งที่
เขาเดินทางนั่นเอง ดาร์วินได้ศึกษาลักษณะทางกายภาพของเพรียงอย่างละเอียด โดยการผ่าตัดดูเพรียงทั้งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต
จากการศึกษาเพรียงดาร์วินได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับเพรียงถึง 4 เล่ม

จากเรื่องเพรียง ดาร์วินได้หันมาให้ความสนใจศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตโดยเขามีแรงบันดาลใจมาจาก
ซากฟอสซิล (Fossil) ดาร์วินใช้เวลาในการค้นคว้าเรื่องนี้นานกว่า 20 ปี เขารวบรวมข้อมูลเพื่อค้นหาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
ดาร์วินศึกษาสิ่งมีชีวิตหลายชนิดทั้งคนม้า สุนัข และลิง เป็นต้น จากการ้นคว้าเขาสามารถสรุปและตั้งเป็นทฤษฎีวิวัฒนาการได้ว่า
สิ่งมีชีวิตในปัจจุบันนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตในอดีต ต่อมาในวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1859 ดาร์วินได้ตีพิมพ์
เผยแพร่ผลงานออกมาเล่มหนึ่งมีชื่อว่า The Original of Species หรือ กำเนิดพืชและสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งมีเนื้อหาอธิบายถึง
กำเนิดของสิ่งมีชีวิต รวมถึงวิวัฒนาการจากรูปแบบหนึ่งมาสู่รูปแบบหนึ่งด้วย ซึ่งมีผลมาจากสภาพแวดล้อมเป็นสำคัญ คือ
เมื่อสภาพแวดล้อมเป็นเช่นไร สิ่งมีชีวิตทั้งหลายจำเป็นต้องปรับสภาพให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมเช่นนั้น
เพื่อชีวิตที่จะคงอยู่ต่อไป โดยการเปลี่ยนแปลงนี้ต้องใช้ระยะเวลาอันยาวนานจะเปลี่ยนแปลงทั้งโครงสร้างทางร่างกายและลักษณะ
นิสัย การวิวัฒนาการเช่นนี้ดาร์วินเรียกว่า "การคัดเลือกโดยธรรมชาติ (Natural Selection)" นอกจากนี้หนังสือเล่มนี้
ยังอธิบายเกี่ยวกับวิวัฒนาการของมนุษย์ว่ามาจากลิง เมื่อหนังสือของดาร์วินได้รับการเผยแพร่ออกไป ปรากฏว่าถูกคัดค้านจากพวก
เคร่งศาสนาอย่างหนัก บางคนถึงกับว่ากล่าวดาร์วินอย่างรุนแรงว่าเป็นพวกนอกศาสนา นอกรีต แม้แต่กัปตันเรือบีเกิ้ลซึ่งทั้งสอง
เคยร่วมเดินทางสำรวจด้วยกันเป็นเวลานานถึง 5 ปี ก็ได้ว่ากล่าวดาร์วินอย่างรุนแรงเช่นกัน เหตุการณ์เป็นเช่นนี้เพราะคนเหล่านี้
มีความเชื่อว่าสรรพสิ่งในโลกนี้ล้วนแต่พระเจ้าสร้างมา ซึ่งมีรูปแบบเช่นนี้มาตั้งแต่แรก แต่ต่อมาไม่นานนักคนเหล่านี้ก็ให้การ
ยอมรับทฤษฎีข้อนี้ สำหรับวงการวิทยาศาสตร์ และประชาชนส่วนใหญ่ต่างก็ยอมรับในทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วิน ตั้งแต่
ครั้งแรกที่มีการเผยแพร่ออกมา ดาร์วินพิมพ์ผลงานเกี่ยวกับธรรมชาติออกมาอีกหลายเล่ม ได้แก่
- ค.ศ. 1862 พิมพ์หนังสือชื่อว่า The Fertilization of Orchids
- ค.ศ. 1868 พิมพ์หนังสือชื่อว่า The Variation of Animal and Plants under Domestication
- ค.ศ. 1871 พิมพ์หนังสือชื่อว่า The Descent of Man and Selection in Relation to Sea
- ค.ศ. 1872 พิมพ์หนังสือชื่อว่า The Expression of the Emotion in Man and Animal
- ค.ศ. 1875 พิมพ์หนังสือชื่อว่า The Effect of Cross and Self - Fertilization in the Vegetable Kingdom
- ค.ศ. 1877 พิมพ์หนังสือชื่อว่า Different Forms of Flower and Plant of The Same Species
- ค.ศ. 1880 พิมพ์หนังสือชื่อว่า The Power of Movement in Plants
- ค.ศ. 1881 พิมพ์หนังสือชื่อว่า The Formation of Vegetable Mould Through The Action of Worms
ซึ่งเป็นหนังสือเล่มสุดท้ายก่อนที่ดาร์วินจะเสียชีวิตในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1882 ศพของเขาถูกฝังอยู่ที่วิหารเวสเตอร์
ผลงานของดาร์วินที่เขาได้ถ่ายทอดลงในหนังสือของเขา ล้วนแต่เป็นผลงานที่มีประโยชน์อย่างมากทั้งทางชีววิทยา และ
มนุษยวิทยา โดยเฉพาะทฤษฎีวิวัฒนาการถือได้ว่าเป็นก้าวสำคัญในวงการชีววิทยา


ที่มา
http://siweb.dss.go.th/Scientist/Scientist/Charles%20Robert%20Darwin.html