วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ วะสี
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ วะสี
นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2526 สาขาชีววิทยา (พันธุศาสตร์)
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ วะสี เป็นผู้ค้นพบกลไกทางพันธุศาสตร์ของโรคแอลฟ่าธาลัสซีเมีย โดยพบว่ามียีนแอลฟ่าธาลัสซีเมียสองชนิด และได้ให้ชื่อว่า แอลฟ่าธาลัสซีเมีย 1 และแอลฟ่าธาลัสซีเมีย 2
ประวัติ
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ วะสี เกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ.2474 จังหวัดกาญจนบุรี
เป็นบุตรนายคลาย และนางกิม วะสี การศึกษาเรียนชั้นประถมและมัธยมต้นที่ จังหวัดกาญจนบุรี และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เตรียมแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
เข้ารับราชการเป็นแพทย์ประจำบ้านเริ่มทำการวิจัยเกี่ยวกับโรคเลือด จนได้รับทุนอานันทมหิดลไปศึกษาต้นโลหิตวิทยา ที่มหาวิทยาลัยโคโรราโด และการวิจัยด้านพันธุศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยลอนดอนและกลับมารับราชการทำการสอนและวิจัยต่อมา
ผลงานวิจัย
อาจารย์ประเวศเป็นผู้ศึกษาและเข้าใจธรรมชาติของเลือดในทุกเรื่องอย่างละเอียด สามารถทำความเข้าใจถึงความผิดปกติของสายลูกโซ่โกลบินในฮีโมโกลบินของเม็ดเลือดแดง ที่ก่อให้เกิดโรคโลหิตจางที่เรียกว่า “โรคธาลัสซีเมีย” โรคนี้เป็นมากในประเทศเทศไทย ลาว กัมพูชา เป็นความผิดปกติ ในสายโซ่ ของฮีโมโกลบิน จนท่านศึกษาจนพบว่า แอลฟ่า-ธาลัสซีเมียสองชนิด คือ แอลฟา-ธาลัสซีเมีย 1 และ แอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 2 ซึ่งมีองค์ประกอบต่างๆ จะทำให้เกิดอาการและการสืบเนื่องทางพันธุกรรมต่างกัน
งานวิจัยชิ้นนี้เป็นที่ยอมรับและยกย่องของวงการวิทยาศาสตร์ทั่วโลก เพราะเป็นการช่วยสร้างพื้นฐานความเข้าใจ ผลงานท่านได้รับการตีพิมพ์ ทั้งในและต่างประเทศ และได้รับเชิญไปเป็นที่ปรึกษาการวิจัยขององค์การอนามัยโลก และเป็นวิทยากรบรรยายยังสถาบันต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ
จากผลงานการทำงานอย่างมุ่งมั่นถึงความสำคัญของโรคที่จะมีผลกระทบต่างๆ มากมายที่จะตามมานายแพทย์ประเวศได้มุ่งมั่น-ทุ่มเททั้งกำลังกายและใจจนเป็นที่ยอมรับของทุกหน่วยงานจนได้รับรางวัลแมกไซไซ และการคัดเลือกให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น จากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ.2526
ที่มา
http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C_%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A8_%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B5