อัลเฟรด โนเบล : Alfred Nobel
เกิด วันที่ 23 ตลาคม ค.ศ. 1833 ที่กรุงสตอกโฮล์ม (Stockholm) ประเทศสวีเดน (Sweden)
เกิด วันที่ 23 ตลาคม ค.ศ. 1833 ที่กรุงสตอกโฮล์ม (Stockholm) ประเทศสวีเดน (Sweden)
เสียชีวิต วันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1896 ที่เมืองซานโรโม (San Romo) ประเทศอิตาลี (ltaly)
ผลงาน
- ประดิษฐ์ระเบิดไดนาโมต์ (Dynamite)
- ก่อตั้งมูลนิธิโนเบล
โนเบลผู้นี้เป็นผู้ที่ก่อตั้งมูลนิธิโนเบล ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังในการที่เป็นมูลนิธิที่สนับสนุนและมอบรางวัลให้กับนักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่นในสาขาต่างๆ อีกทั้งเขายังเป็นนักวิทยาศาสตร์ ผู้มีความรู้ความสามารถผู้หนึ่งโนเบลเป็นผู้ประดิษฐ์ ระเบิดไดนาไมต์ที่มีอานุภาพร้ายแรงนอกจากนี้เขายังประดิษฐ์วัตถุสังเคราะห์อีกหลายชนิด เช่น ไหมเทียม หนังเทียม และยางสังเคราะห์ เป็นต้น
โนเบลเกิดเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1833 ที่เมืองสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ในครอบครัวที่ร่ำรวย บิดาของเขาเป็นเจ้าของ
โรงงานผลิตวัตถุระเบิด และอาวุธ ที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (St.Petersburg) ประเทศรัสเซีย (Russia) ซึ่งเป็นธุรกิจที่สร้างความร่ำรวยให้กับครอบครัวเขาอย่างมากโดยเฉพาะเมื่อเกิดสงครามไครเมีย รัสเซียได้สั่งอาวุธสงครามจากโรงเรียนนี้เป็นจำนวนมาก และอาวุธที่ถูกสั่งจำนวนมากที่สุดก็คือระเบิด ระเบิดชนิดนี้บิดาของเขาได้สร้างขึ้นจากไนโตรกลีเซอรีนซึ่งระเบิดได้ง่ายมากและก็มีเพียงโรงงานของครอบครัวโนเบลเท่านั้นที่ผลิตระเบิดชนิดนี้
- ก่อตั้งมูลนิธิโนเบล
โนเบลผู้นี้เป็นผู้ที่ก่อตั้งมูลนิธิโนเบล ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังในการที่เป็นมูลนิธิที่สนับสนุนและมอบรางวัลให้กับนักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่นในสาขาต่างๆ อีกทั้งเขายังเป็นนักวิทยาศาสตร์ ผู้มีความรู้ความสามารถผู้หนึ่งโนเบลเป็นผู้ประดิษฐ์ ระเบิดไดนาไมต์ที่มีอานุภาพร้ายแรงนอกจากนี้เขายังประดิษฐ์วัตถุสังเคราะห์อีกหลายชนิด เช่น ไหมเทียม หนังเทียม และยางสังเคราะห์ เป็นต้น
โนเบลเกิดเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1833 ที่เมืองสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ในครอบครัวที่ร่ำรวย บิดาของเขาเป็นเจ้าของ
โรงงานผลิตวัตถุระเบิด และอาวุธ ที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (St.Petersburg) ประเทศรัสเซีย (Russia) ซึ่งเป็นธุรกิจที่สร้างความร่ำรวยให้กับครอบครัวเขาอย่างมากโดยเฉพาะเมื่อเกิดสงครามไครเมีย รัสเซียได้สั่งอาวุธสงครามจากโรงเรียนนี้เป็นจำนวนมาก และอาวุธที่ถูกสั่งจำนวนมากที่สุดก็คือระเบิด ระเบิดชนิดนี้บิดาของเขาได้สร้างขึ้นจากไนโตรกลีเซอรีนซึ่งระเบิดได้ง่ายมากและก็มีเพียงโรงงานของครอบครัวโนเบลเท่านั้นที่ผลิตระเบิดชนิดนี้
แต่เมื่อเกิดระเบิดขึ้นครั้งใด ไม่ว่าจะในสงครามหรือจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในสถานที่ต่าง ๆ เช่นเรือสินค้าที่บรรทุกไนโตรกลีเซอรีนระเบิด โรงงานไนโตรกลีเซอรีน ในกรุงสตอกโฮล์ม ซิดนีย์ ซานฟรานซิสโก และอีกหลายแห่งระเบิด ผู้คนก็มักจะกล่าวว่าโรงงานของโนเบลเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดระเบิดเสมอ เพราะโรงงานของเขาเป็นโรงงานที่ใหญ่ และมีความสำคัญมากที่สุด หลังจากจบการศึกษาแล้วโนเบลได้ศึกษาในวิชาวิศวกรรมเครื่องกลที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อจบการศึกษาแล้วโนเบลได้เข้ามาทำงานในโรงงานผลิตอาวุธของบิดาของเขานั่นเอง
จากความสำเร็จอย่างมากในการสร้างโรงงานที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กบิดาเขาจึงเกิดความคิดที่จะสร้างโรงงานขึ้นอีกแห่งหนึ่งที่ กรุงสตอกโฮล์ม และเมื่อบิดาของเขาเสียชีวิตโนเบลก็เป็นผู้ที่ได้รับมรดกทั้งหมดของครอบครัว เขาได้บริหารงานโรงงานให้มีความก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกันนี้เขาได้พยายามหาวิธีทำให้ไนโตรกลีเซอรีนระเบิดได้ยากขึ้นโนเบลใช้เวลาในการทดลองค้นคว้าหาวิธีนานหลายปีจนเกิดความท้อแท้เบื่อหน่าย
จากความสำเร็จอย่างมากในการสร้างโรงงานที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กบิดาเขาจึงเกิดความคิดที่จะสร้างโรงงานขึ้นอีกแห่งหนึ่งที่ กรุงสตอกโฮล์ม และเมื่อบิดาของเขาเสียชีวิตโนเบลก็เป็นผู้ที่ได้รับมรดกทั้งหมดของครอบครัว เขาได้บริหารงานโรงงานให้มีความก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกันนี้เขาได้พยายามหาวิธีทำให้ไนโตรกลีเซอรีนระเบิดได้ยากขึ้นโนเบลใช้เวลาในการทดลองค้นคว้าหาวิธีนานหลายปีจนเกิดความท้อแท้เบื่อหน่าย
จนกระทั่งวันหนึ่งในปี ค.ศ. 1886 โนเบลได้ทำไนโตรกลีเซอรีนหยดลงพื้น เมื่อเป็นเช่นนั้นโนเบลจึงนำดินบริเวณที่ไนโตรกลีเซอรีนหกขึ้นมาแยกธาตุดู ซึ่งนับว่าเป็นผลดีอย่างมากให้กับโนเบล เพราะทำให้โนเบลหาวิธีที่ทำให้ไนโตรกลีเซอรีนระเบิดได้ยากขึ้น โดยการนำไนโตรกลีเซอรีนมาผสมกับดินทราย แม้ว่าไนโตรกลีเซอรีนจะระเบิดได้ยากขึ้น แต่กลับส่งผลให้ระเบิดชนิดนี้มีอานุภาพรุนแรงมากขึ้น โนเบลตั้งชื่อระเบิดชนิดนี้ว่า ไดนาไมต์ ซึ่งเป็นระเบิดที่มีอานุภาพรุนแรง และใช้กันมาจนถึงปัจจุบันนี้
แม้ว่าโนเบลจะพบวิธีที่ทำให้ไนโตรกลีเซอรีนระเบิดได้ยากขึ้น แต่เขากลับได้รับความเกลียดชังจากผู้คนรอบข้างเช่นเดิมเพราะไม่มีผู้ใดที่ลืมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตได้เลย ในประเทศอังกฤษสินค้าของโนเบลถูกสั่งห้ามไม่ให้นำเข้าประเทศอย่างเด็ดขาด แม้แต่เจ้าของโรงแรมก็ยังไม่ยอมให้เขาเข้าพัก เนื่องจากเกรงว่าโนเบลจะนำไนโตรกลีเซอรีนติดตัวไปด้วย แต่โนเบลก็ไม่ละความพยายาม เขาได้อธิบายให้รัฐบาลและคนทั่วไปเข้าใจในสิ่งที่เขาทำให้ไนโตรกลีเซอรีนระเบิดได้ยากขึ้น และในที่สุดความพยายามของเขาก็เป็นผลสำเร็จ คือ รัฐบาลได้อนุญาตให้เข้าสร้างโรงงานในประเทศต่าง ๆ กว่า 10 ประเทศ ได้แก่ โปรตุเกส สเปน ฟินแลนด์ อิตาลี เยอรมนี ออสเตรีย และฝรั่งเศส เขาได้รับเงินทุนสนับสนุนจากทางพระเจ้านโปเลียนที่ 3 จากประเทศฝรั่งเศสให้ก่อสร้างโรงงานด้วย ต่อมาโนเบลได้สร้างโรงงานในประเทศอังกฤษ ซึ่งในครั้งแรกทางรัฐบาลได้ห้ามอย่างเด็ดขาด แต่ในที่สุดเขาก็สามารถอธิบายให้รัฐบาลอังกฤษเข้าใจได้โนเบลสร้างโรงงานขึ้นอีกหลายแห่งทั่วโลก ได้แก่ แคนาดา บราซิล และญี่ปุ่น
ระเบิดไดนาไมต์เป็นผลงานชิ้นเดียวที่โนเบลสร้างขึ้นมา ซึ่งเป็นระเบิดที่มีอานุภาพแรงอย่างมาก แต่ระเบิดไดนาไมต์ไม่ได้ทำลายล้างได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ประมาณปี ค.ศ. 1900 มีการขุดคลองปานามาขึ้นมาเพื่อเชื่อมระหว่างมหาสมุทรแอนแลนติกกับมหาสมุทรแปซิฟิก ระเบิดไดนาไมต์ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการนี้ด้วย ซึ่งได้ผลเป็นอย่างดี
หากจะกล่าวถึงโนเบลแล้ว เรื่องที่ควรจะกล่าวถึงมากที่สุด คือ มูลนิธิที่เขาเป็นผู้ก่อตั้งขึ้นและสาเหตุที่เขาก่อตั้งมูลนิธิขึ้น เนื่องจากคำขอร้องจากเพื่อนของเขาคนหนึ่ง ที่เขาได้รู้จักในระหว่างที่โนเบลได้สร้างโรงงานผลิตอาวุธขึ้นในกรุงปารีส เขาได้ประกาศรับสมัครเลขานุการขึ้นและเบอร์ธา กินสกีหญิงสาวชาวออสเตรียนได้ส่งจดหมายมาสมัครและได้งานนี้ได้ ซึ่งเธอผู้นี้เป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดมูลนิธิโนเบลขึ้น กินสกีเป็นผู้หญิงที่ทำงานและมีอัธยาศัยดี ทำให้เข้ากับโนเบลได้เป็นอย่างดี แม้ว่าในขณะนั้นโนเบลมีอายุมากถึง 43 ปี แล้วก็ตาม ทั้งสองมีความสัมพันธ์กันดีทั้งในฐานะนายจ้างกับลูกจ้าง และในฐานะเพื่อน
แม้ว่าโนเบลจะพบวิธีที่ทำให้ไนโตรกลีเซอรีนระเบิดได้ยากขึ้น แต่เขากลับได้รับความเกลียดชังจากผู้คนรอบข้างเช่นเดิมเพราะไม่มีผู้ใดที่ลืมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตได้เลย ในประเทศอังกฤษสินค้าของโนเบลถูกสั่งห้ามไม่ให้นำเข้าประเทศอย่างเด็ดขาด แม้แต่เจ้าของโรงแรมก็ยังไม่ยอมให้เขาเข้าพัก เนื่องจากเกรงว่าโนเบลจะนำไนโตรกลีเซอรีนติดตัวไปด้วย แต่โนเบลก็ไม่ละความพยายาม เขาได้อธิบายให้รัฐบาลและคนทั่วไปเข้าใจในสิ่งที่เขาทำให้ไนโตรกลีเซอรีนระเบิดได้ยากขึ้น และในที่สุดความพยายามของเขาก็เป็นผลสำเร็จ คือ รัฐบาลได้อนุญาตให้เข้าสร้างโรงงานในประเทศต่าง ๆ กว่า 10 ประเทศ ได้แก่ โปรตุเกส สเปน ฟินแลนด์ อิตาลี เยอรมนี ออสเตรีย และฝรั่งเศส เขาได้รับเงินทุนสนับสนุนจากทางพระเจ้านโปเลียนที่ 3 จากประเทศฝรั่งเศสให้ก่อสร้างโรงงานด้วย ต่อมาโนเบลได้สร้างโรงงานในประเทศอังกฤษ ซึ่งในครั้งแรกทางรัฐบาลได้ห้ามอย่างเด็ดขาด แต่ในที่สุดเขาก็สามารถอธิบายให้รัฐบาลอังกฤษเข้าใจได้โนเบลสร้างโรงงานขึ้นอีกหลายแห่งทั่วโลก ได้แก่ แคนาดา บราซิล และญี่ปุ่น
ระเบิดไดนาไมต์เป็นผลงานชิ้นเดียวที่โนเบลสร้างขึ้นมา ซึ่งเป็นระเบิดที่มีอานุภาพแรงอย่างมาก แต่ระเบิดไดนาไมต์ไม่ได้ทำลายล้างได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ประมาณปี ค.ศ. 1900 มีการขุดคลองปานามาขึ้นมาเพื่อเชื่อมระหว่างมหาสมุทรแอนแลนติกกับมหาสมุทรแปซิฟิก ระเบิดไดนาไมต์ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการนี้ด้วย ซึ่งได้ผลเป็นอย่างดี
หากจะกล่าวถึงโนเบลแล้ว เรื่องที่ควรจะกล่าวถึงมากที่สุด คือ มูลนิธิที่เขาเป็นผู้ก่อตั้งขึ้นและสาเหตุที่เขาก่อตั้งมูลนิธิขึ้น เนื่องจากคำขอร้องจากเพื่อนของเขาคนหนึ่ง ที่เขาได้รู้จักในระหว่างที่โนเบลได้สร้างโรงงานผลิตอาวุธขึ้นในกรุงปารีส เขาได้ประกาศรับสมัครเลขานุการขึ้นและเบอร์ธา กินสกีหญิงสาวชาวออสเตรียนได้ส่งจดหมายมาสมัครและได้งานนี้ได้ ซึ่งเธอผู้นี้เป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดมูลนิธิโนเบลขึ้น กินสกีเป็นผู้หญิงที่ทำงานและมีอัธยาศัยดี ทำให้เข้ากับโนเบลได้เป็นอย่างดี แม้ว่าในขณะนั้นโนเบลมีอายุมากถึง 43 ปี แล้วก็ตาม ทั้งสองมีความสัมพันธ์กันดีทั้งในฐานะนายจ้างกับลูกจ้าง และในฐานะเพื่อน
ต่อมากินสกีได้แต่งงานไปกับท่านเคานท์สุตเนอร์ และลาออกจากงาน แต่ทั้งสองก็ยังคบหากันในฐานะเพื่อนและติดต่อกันอยู่ตลอด กินสกีมักจะขอร้องให้โนเบลสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ชาติบ้าง แทนที่จะสร้างอาวุธเพื่อการทำล้างลายแต่เพียงอย่างเดียวกินสกีได้เขียนหนังสือขึ้นเล่มหนึ่งเกี่ยวกับพิษภัยของสงครามและอันตรายจากการสะสมอาวุธสงคราม หนังสือเล่มนี้ของกินสกีมีเพียงโนเบลเท่านั้นที่ได้อ่านและจากการอ้อนวอนของร้องจากเพื่อนที่รักที่สุดของโนเบล
เมื่อโนเบลเสียชีวิตในวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1896 เขาได้ทำพินัยกรรมมอบเงินจำนวน 31 ล้านโครน ตั้งเป็นมูลนิธิโนเบล โดยมูลนิธินี้จะสนับสนุน และมอบรางวัลให้กับนักวิทยาศาสตร์และบุคคลที่มีผลงานดีเด่นในสาขาต่าง ๆ 5 สาขา ได้แก่ ฟิสิกส์ เคมี แพทย์ วรรณกรรม และสาขาสันติภาพ ซึ่ง 3 รางวัลเขามอบให้กับนักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่น สาขาวรรณกรรมนั้นเกิดขึ้นจากนิสัยส่วนตัวของโนเบล ที่เป็นคนรักการอ่านและเขียน โดยเฉพาะในช่วงที่เขาถูกเกลียดชังอย่างมาก เขาได้เขียนพรรณนาความลำบากในชีวิตของเขาลงในหนังสือ ส่วนรางวัลสันติภาพเขาได้ทำตามคำร้องขอของกินสกีเพื่อรักของเขา รางวัลโนเบลถือว่าเป็น
รางวัลที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดรางวัลหนึ่งของโลกเลยทีเดียว
ที่มา
http://siweb.dss.go.th/Scientist/Scientist/Alfred%20Nobel.html
เมื่อโนเบลเสียชีวิตในวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1896 เขาได้ทำพินัยกรรมมอบเงินจำนวน 31 ล้านโครน ตั้งเป็นมูลนิธิโนเบล โดยมูลนิธินี้จะสนับสนุน และมอบรางวัลให้กับนักวิทยาศาสตร์และบุคคลที่มีผลงานดีเด่นในสาขาต่าง ๆ 5 สาขา ได้แก่ ฟิสิกส์ เคมี แพทย์ วรรณกรรม และสาขาสันติภาพ ซึ่ง 3 รางวัลเขามอบให้กับนักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่น สาขาวรรณกรรมนั้นเกิดขึ้นจากนิสัยส่วนตัวของโนเบล ที่เป็นคนรักการอ่านและเขียน โดยเฉพาะในช่วงที่เขาถูกเกลียดชังอย่างมาก เขาได้เขียนพรรณนาความลำบากในชีวิตของเขาลงในหนังสือ ส่วนรางวัลสันติภาพเขาได้ทำตามคำร้องขอของกินสกีเพื่อรักของเขา รางวัลโนเบลถือว่าเป็น
รางวัลที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดรางวัลหนึ่งของโลกเลยทีเดียว
ที่มา
http://siweb.dss.go.th/Scientist/Scientist/Alfred%20Nobel.html