วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ศาสตราจารย์ ดร. ม.ร.ว.พุฒิพงศ์ วรวุฒิ


ศาสตราจารย์ ดร. ม.ร.ว.พุฒิพงศ์ วรวุฒิ

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2527 สาขาสรีรวิทยาการสืบพันธุ์


ศาสตราจารย์ ดร. ม.ร.ว.พุฒิพงศ์ วรวุฒิ มีผลงานวิจัยอันเป็นงานบุกเบิกที่ช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกการกำเนิดและการคุมกำเนิดในสัตว์ทดลองพวกฟันแทะและลิงหางยาวหรือลิงแสม โดยเน้นหาความสัมพันธ์ในการควบคุมทั้งที่ระดับต่อมใต้สมองและระดับรังไข่ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการควบคุมการ ฝังตัวของบลาสโตซิสที่เยื่อบุผนังมดลูก พร้อมกันนี้ยังสร้างกลุ่มวิจัยในลิงหางยาวที่หน่วยวิจัยไพรเมท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประวัติ
เกิด 4 มกราคม 2475 เป็นบุตรคนที่ 3 ของ ม.จ.วรพงษ์ทัศนาและหม่อมบุญเทียม เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนแสงวิทยา มัธยมศึกษาที่โรงเรียนพันธุ์พิศวิทยา โรงเรียนพระนครวิทยาลัย ระดับเตรียมอุดมที่โรงเรียนพระนครวิทยาลัย เข้าศึกษาที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ สาขาชีววิทยา เข้ารับราชการครั้งแรกแผนกชีววิทยา จุฬาฯ ต่อมาได้รับการศึกษาต่อต่างประเทศระดับปริญญาโทด้านสัตววิทยา มหาวิทยาลัยดคโรราโดและทุนโซโลมอน บี คอล์กเกอร์ ในระดับปริญญาเอก สาขาสรีรวิทยาการสืบพันธุ์ จากสถาบันวิทยาศาสตร์ไวซ์มัน อิสราเอล

ผลงานวิจัย
ในปี พ.ศ. 2527 ได้รับการคัดเลือกจากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น สาขาชีววิทยา ผลงานเด่น ๆ หลายชิ้น เช่น ประสบผลสำเร็จในการเลี้ยงและการแพร่พันธุ์หนูขาวพันธุ์วิสตาร์บริสุทธิ์ ซึ่งใช้ในการศึกษา และประสบผลสำเร็จในการสร้างกลุ่มสัตว์ทดลองโกลเด้นแฮมสเตอร์ ริเริ่มสร้างลิงแสมซึ่งเป็นรูปแบบสัตว์ทดลองที่ใกล้เคียงมนุษย์มาก ซึ่งสามารถผสมพันธุ์ได้จนเพียงพอกับการวิจัย เพราะความมุ่งมั่นพัฒนาการวิจัยอย่างต่อเนื่อง อาจารย์จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ริเริ่มบุกเบิกให้มีการศึกษาวิจัยด้านสรีรวิทยาการสืบพันธุ์เป็นคนแรกของไทย




ที่มา
http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C_%E0%B8%94%E0%B8%A3._%E0%B8%A1.%E0%B8%A3.%E0%B8%A7.%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%92%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C_%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B8%E0%B8%92%E0%B8%B4