วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
แมกซ์ แพลงค : Max Planck
แมกซ์ แพลงค : Max Planck
เกิด
วันที่ 23 เมษายน ค.ศ.1858 ที่เมืองคีล (Kiel) ประเทศเยอรมนี (Germany)
เสียชีวิต
วันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ.1947 ที่เมืองกอตติงเกน (Gottingen) ประเทศเยอรมนี (Germany)
ผลงาน
- ผู้ค้นพบทฤษฎีควอนตัม (Quantum Physics)
- ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์
แพลงคเกิดเมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ.1858 ที่เมืองคีล ประเทศเยอรมนี บิดาของเขาเป็นทนายความ และศาสตราจารย์ประจำภาควิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่มหาวิทยาลัยคีล (Kiel University) ชื่อว่า จูเลียต วิลเฮล์ม แพลงค (Juliet Wilhelm Planck) เมื่อเขาอายุได้ 9 ปี ครอบครัวได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองมิวนิค (Munich) เนื่องจากบิดาต้องย้ายไปทำงานที่นั่น ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนี ต่อจากนั้นเขาได้เข้าศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนแมกซิมิเลียม ยิมเนซียม (Maximiliam Gymnasium) แต่เรียนอยู่ได้ไม่นานนักก็ต้องลาออก เนื่องจากบิดาของเขาต้องย้ายไปทำงานที่เมืองเบอร์ลิน (Berlin) เมืองหลวงของประเทศเยอรมนี
ต่อจากนั้นเขาได้เข้าศึกษาต่อในวิชาฟิสิกส์ทฤษฎี ที่มหาวิทยาลัยมิวนิค (Munich University) หลังจากจบการศึกษาเขาได้เข้าศึกษาต่อในวิชาฟิสิกส์ ในมหาวิทยาลัยเบอร์ลิน (Berlin University)
หลังจากจบการศึกษาแล้ว ในปี ค.ศ.1885 มหาวิทยาลัยคีลได้ตกลงกับแพลงคเข้าเป็นอาจารย์สอนวิชาฟิสิกส์ทฤษฎีในระหว่างนี้แพลงคได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับพลังงานเรื่องธรรมชาติของพลังงาน และเอนโทรปี (Entropy) และได้ส่งผลงานการค้นคว้าเกี่ยวกับธรรมชาติของพลังงานเข้าประกวดที่เมืองกอตติงเกน (Gottingen) และได้รับรางวัลที่ 2 จากนั้นในปี ค.ศ.1889 เขาย้ายไปสอนที่มหาวิทยาลัยเบอร์ลินแทนกุลสตาฟ เคิร์กชอฟ ศาสตราจารย์ที่เสียชีวิตไป พร้อมกับได้เลื่อนตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์แพลงคได้ทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัยแห่งนี้จนกระทั่งปี ค.ศ.1926
ในปี ค.ศ.1900 แพลงคได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับเทอร์โมไดนามิค (Thermo dynamic) ซึ่งเป็นผลงานที่ทำให้เขาได้รับมอบปริญญาเอก ต่อจากนั้นเขาได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับการแผ่รังสีของวัตถุ แพลงคพบว่าเมื่อวัตถุมีอุณหภูมิสูงขึ้นมักจะเปลี่ยนสี เช่น เมื่อโลหะได้รับความร้อนจะเปลี่ยนเป็นสีแดง เพราะฉะนั้นเมื่อวัตถุถูกทำให้ร้อนขึ้นย่อมแผ่รังสีความร้อนออกไป แพลงคได้ทำการทดลองต่อไป เพื่อค้นหาลักษณะของรังสีที่แผ่นออกมา แพลงคพบว่ารังสีจะแผ่ออกมาเป็นระยะ ๆ และเป็นอนุภาคเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ควอนตัม ไม่ได้ปล่อยออกมาเรื่อย ๆ ตลอดเวลาเขาได้ตั้งชื่อทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฎีควอนตัม เขาได้นำผลงานเกี่ยวกับทฤษฎีควอนตัมเสนอต่อสมาคมฟิสิกส์แห่งเบอร์ลิน เมื่อทฤษฎีของเขาเผยแพร่ออกไปแล้ว แต่ก็ไม่เป็นที่ยอมรับกันเท่าไรนัก จนกระทั่งปี ค.ศ.1906 อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้นำทฤษฎีของแพลงคมาอธิบายประกอบดับทฤษฎีโฟโตอิเล็กทริค เอฟเฟค (Photoelectric Effect) และในปี ค.ศ.1913 นีลส์ บอร์ ได้นำทฤษฎีนี้มาอธิบายประกอบทฤษฎีอะตอมของเขา และจากการค้นพบทฤษฎีควอนตัม ในปี ค.ศ.1918แพลงคได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ และได้รับเชิญเข้าร่วมเป็นสมาชิกในสถาบันที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง เช่น ราชบัณฑิตยสภา
(Royal Institute) และสมาคมฟิสิกส์แห่งสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
ต่อมาในปี ค.ศ.1930 แพลงคได้รับเชิญให้ดำรงตำแหน่งประธานของสมาคมไกเซอร์วิลเฮลืฒแห่งเบอร์ลิน ต่อมาสามาคมนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็นสมาคมแมกซ์ แพลงค (Max Planck Societyป เพื่อเป็นเกียรติให้กับเขา ในระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่งนี้เขาได้ริเริ่มให้ออกวารสารเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ฉบับหนึ่งชื่อ Annalen der Physik เพื่อเผยแพร่ผลงานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของทางสมาคมให้สาธารณชนได้รับรู้
แพลงคได้ย้ายมาอยู่ที่เมืองกอตติงเกน ในปี ค.ศ.1945 และหลังจากนั้นอีก 2 ปี เขาก็เสียชีวิตในวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ.1947
ที่มา
http://siweb.dss.go.th/Scientist/scientist/Max%20Planck.html