หลุยส์ อักกะซี่ : Louis Johann Rudolph Agassiz
เกิด วันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1809 ที่เมืองมอติเออร์ (Mortier) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (Switzerland)
เสียชีวิต วันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1873 ที่เมืองมอติเออร์ (Morrtier) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (Switzwrland)
ผลงาน
- การค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ธรรมชาติ
หลุยส์ อักกะซี่ หรือที่มีชื่อเต็มๆ ว่า หลุยส์ จอห์น รูดอล์ฟ อักกะซี่ (Louis Johann Rudolph Agassiz) เป็นนักธรรมชาติวิทยา ผู้ยิ่งใหญ่อีกท่านหนึ่ง ผลงานของเขาส่วนใหญ่เป็นการศึกษาเกี่ยวกับซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ อักกะซี่ได้เทุ่มเทเวลาในการศึกษาเรื่องนี้มากที่สุด ซึ่งเป็นการยากที่นักธรรมชาติวิทยาในยุคเดียวกันนั้นจะสามารถทำได้ และทำให้เขาได้รับการยกย่องให้เป็น บิดาแห่งซากหินดึกดำบรรพ์ อักกะซี่เป็นนักธรรมชาติวิทยาที่อยู่ในยุคเดียวกับชาร์ลส์ โรเบิร์ต ดาร์วินนักธรรมชาติวิทยาอันดับหนึ่งของโลก นอกจากนี้อักกะซี่ยังเป็นผู้หนึ่งที่สนับสนุนทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วิน
อักกะซี่เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1809 ที่เมืองมอติเออร์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์บิดาของเขาเป็นพระสอนศาสนาชาวฝรั่งเศส แต่ลี้ภัยทางศาสนาเข้ามาอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ หลังจากที่อักกะซี่จบการศึกษาขั้นต้นแล้ว เขาได้เข้าศึกษาต่อในวิชาแพทย์ การที่เขาศึกษาวิชานี้ก็เนื่องมาจากคุณตาของเขาเป็นศัลย์แพทย์ผู้มีชื่อเสียงมากผู้หนึ่ง อีกทั้งบิดามารดาของเขาก็ยังคาดหวังให้เขาเป็นศัลยแพทย์เช่นเดียวกับตาของเขา การศึกษาวิชาแพทย์เป็นโอการที่ดีทำให้เขามีความรู้เกี่ยวกับกายวิภาคดีมากผู้หนึ่ง นอกจากนี้เขายังได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการศึกษาและผ่าตัดสัตว์ที่เสียชีวิตแล้ว เพื่อศึกษาเกี่ยวกับอวัยวะภายในของสัตว์เหล่านั้น อักกะซี่ได้รวบรวมพันธุ์สัตว์ต่าง ๆ ไว้มากมายกว่า 40 ชนิด
ต่อมาในปี ค.ศ. 1926 ได้เดินทางไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยไฮเดนเบิร์ก ณ มหาวิทยาลัยแห่งนี้เขามีโอกาสได้ศึกษาภาษากรีก และโรมัน ทำให้เขามีโอกาสได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่มีประโยชน์มากมายหลายเล่ม อีกสิ่งหนึ่งที่เขาได้รับจากการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ก็คือ เขาได้รู้จักกับนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน พร้อมกันนั้นเขายังร่วมก่อตั้งสมาคมวิทยาศาสตร์โดยร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงหลายท่าน สมาคมแห่งนี้มีชื่อว่า The Little Academy
แม้ว่าอักกะซี่จะมีความรู้ทางการแพทย์ดีมากผู้หนึ่ง แต่สิ่งที่เขาสนใจกลับเป็นเรื่องของชีววิทยามากกว่า อักกะซี่ได้ทุ่มเทเวลาทั้งหมดให้กับการค้นคว้าทางด้านธรรมชาติ ซึ่งต่อมาเขาได้เขียนหนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่งโดยใช้ชื่อว่า ประวัติของธรรมชาติวิทยา ซึ่งเขาเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาจากคำชักชวนของศาสตราจารย์คาร์ล ฟอน มาร์ติอุส (Karl van Matius) ซึ่งเป็นอาจารย์ของเขา ผลงานชิ้นนี้ถือได้ว่าได้สร้างชื่อเสียงให้กับอักกะซี่เป็นอย่างมาก นอกจากนี้เขายังได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางปรัชญาศาสตร์อีกด้วย อักกะซั่งได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งเพราะนี้คือสิ่งที่เขารักมากที่สุด
ต่อมาอักกะซี่ได้หยุดการศึกษาด้านนี้ไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง เขาได้กลับไปค้นคว้าเกี่ยวกับวิชาแพทย์ตามที่เขาได้เล่าเรียนมา เขาได้เขียนหนังสือทางการแพทย์ขึ้นมาหลายเล่มได้แก่โรควิทยาคลอดบุตร หนังสือของเขาประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากซึ่งทำ ให้เขามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วทั้งทวีปยุโรปและอเมริกา และจากผลงานชิ้นนี้เขาได้รับรางวัลดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ในทางการแพทย์ ผลงานชิ้นนี้อักกะซี่สามารถทำให้บิดามารดาของเขารู้สึกภูมิใจในตัวเขาเป็นอย่างมาก
จากชื่อเสียงความรู้ ความสามารถ และความช่วยเหลือของอเล็กซานเดอร์ ฟอน อัมโบลต์ ซึ่งในขณะนั้นได้เป็นผู้ให้การสนับสนุน และให้คำแนะนำต่าง ๆ แก่อักกะซี่ ได้ช่วยเหลือให้เขาได้เข้าเป็นศาสตราจารย์สอนวิชาธรรมชาติวิทยาประจำมหาวิทยาลัยนอยซาเติลประเทศสวิตเซอร์แลนด์ การเรียนการสอนของอักกะซี่ภายในมหาวิทยาลัยเป็นไปได้ด้วยดี แต่สิ่งที่เขาไม่ชอบก็คือการเรียนการสอนที่อยู่ภายในห้องเรียน เขามีคามสุขกับการสอนอย่างมากถ้าได้ออกไปสอนนอกสถานที่ ตามป่าเขาลำเนาไพร ซึ่งทำให้นักเรียนได้เห็นของจริง ดังนั้นเขาจึงเริ่มทำการสอนแบบใหม่ โดยการจัดสวนตามแบบของนักปรัชญาชาวกรีก ในสวนแห่งนี้เขาไม่เป็นเพียงแต่ผู้สอนเท่านั้น เขายังได้มีโอกาสศึกษาเกี่ยวกับปรัชญากรีกโบราณอีกด้วย
สิ่งต่อมาที่อักกะซี่ทำการศึกษาก็คือ ซากพืชซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ เขาทำการศึกษาจนมีความชำนาญด้านนี้มากผู้หนึ่งซึ่งทำให้ นักธรรมชาติวิทยาที่มีชื่อเสียงหลายท่านในยุโรป โดยเฉพาะในอังกฤษได้เชิญเขาไปสำรวจตัวอย่างฟอสซิลของสัตว์ต่าง ๆ เท่าที่มีการรวบรวมเอาไว้และจากผลงานการค้นคว้าด้านนี้เขาได้รับรางวัล Wollaston Prize จากประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นโอกาสดีอันหนึ่งของอักกะซี่ เพราะเขากำลังต้องการเงินทุนในการศึกษางานด้านนี้ต่อไป
และเมื่อมีเงินทุน อักกะซี่ได้เดินทางไปยังแม่น้ำโรนเพื่อศึกษาเรื่องธารน้ำแข็ง แม้ว่าเขาจะได้รับคำทัดทานจากเพื่อนฝูงของเขาหลายคน เพราะบริเวณธารน้ำแข็งเป็นสถานที่ที่อันตรายอย่างมาก และเป็นการเสี่ยงชีวิตอย่างมากที่จะลงไปตรงใจกลางธารน้ำแข็ง แต่อักกะซี่ก็ไม่ได้ฟังคำทัดทานของเพื่อเลยแม้แต่น้อย เขายังคงลงไปตรงใจกลางน้ำแข็งที่มีอัตราการเคลื่อนไหลของน้ำแข็งถึงวันละ 40 ฟุต อักกะซี่ได้ลงไปในบ่อและลึกลงไปเรื่อย ๆ เขาพบว่าบริเวณปากบ่อของธารน้ำแข็งเป็นสีฟ้าอ่อนแกมเขียว เมื่อไต่ลึกลงไปอีก
เขาพบว่าสีของผนังบ่อเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ และเปลี่ยนเป็นสีฟ้าในตอนเที่ยงคืน และเมื่อลึกลงไปถึง 120 ฟุต อักกะซี่ต้องพบกับอากาศที่เย็นจัดของธารน้ำแข็ง ทำให้เขาต้องรีบกระตุกเชือกให้คนที่คอยอยู่ด้านบนรีบดึงเขาขึ้นไปในทันที แต่ไม่ถึงคนด้านบนจึงไม่ได้ยินสัญญาณของเขา อักกะซี่จึงต้องร้องตะโกน โชคดีที่คนด้านบนได้ยินจึงรีบดึงเขาขึ้นไป แต่ถึงอย่างนั้นก็เกือบทำให้เขาเสียชีวิต
หลังจากการสำรวจธารน้ำแข็งจบลงอักกะซี่ได้เขียนหนังสือขึ้นมาหลายเล่มโดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับยุคน้ำแข็งที่ชื่อว่า Le Systeme Glaaciaiae หนังสือเล่มนี้ก็ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกับหนังสือเล่มที่ผ่าน ๆ มาของเขาหนังสือที่ได้รับการยกย่องอย่างมากอีกเล่มหนึ่งเป็นหนังสือที่เกี่ยวกับการสำรวจทางธรณีวิทยา และจากผลงานชิ้นนี้คณะกรรมการแห่ง Lowell Institute ได้เชิญเขาไปแสดงปาฐกถาที่บอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งอักกะซี่ก็ตอบรับคำเชิญโดยทันที เขาได้ออกเดินทางไปบอสตันในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1846 นอกจากแสดงปาฐกถาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเขายังมีโอกาสได้รู้จักกับนักธรรมชาติวิทยาผู้มีชื่อเสียงและมีความสามารถหลายท่าน ทำให้อักกะซี่ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้กับนักวิทยาศาสตร์เหล่านี้ ทำให้เขารู้สึกประทับใจจนไม่ต้องการกลับไปที่สวิตแลนด์อีกและเมื่อภรรยาของเขาเสียชีวิต เขาได้แต่งงานใหม่กับหญิงสาวชาวอเมริกัน แต่เขาก็ยังคงส่งเงินสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายแก่บุตรชายทั้งสองของเขา
อักกะซี่ได้มีโอกาสเดินทางไปยังมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เพื่อเก็บรวบรวมตัวอย่างเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยา แต่ทำอยู่ได้ไม่นาน เขาก็ต้องเดินทางกลับไปยังมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเพื่อเข้าทำงานในโรงเรียนการแพทย์ที่ชาณ์ลส์ตัน แต่ในระหว่างนี้เขาก็ยังคงเก็บ สะสมซากสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย เพื่อจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ในเวลาต่อมา ซึ่งโชคก็เข้าข้างเขาให้ทำงาน นี้ได้สำเร็จโดยมีเพื่อของเขาผู้หนึ่งได้ทำพินัยกรรมมอบเงินจำนวน 50,000 เหรียญ เพื่อให้เขาได้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์ตามได้ตั้งใจไว้อักกะซี่ได้ใช้พื้นที่บริเวณมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเพื่อจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ซึ่งทางสภาการเมืองแห่งรัฐแมสซาชูเซสได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์ได้ แม้ว่าในครั้งแรกจะมีสมาชิกบางคนไม่เห็นด้วยก็ตาม อักกะซี่ได้ตั้งชื่อพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ว่า Museum of Comparative Zoology
หลังจากที่อักกะซี่ประสบความสำเร็จทั้งชื่อเสียงและเงินทองทำให้เขามีโอกาสได้เดินทางไปศึกษาหาความรู้ด้านธรรมชาติวิทยาตามสถานที่ต่าง ๆ มากขึ้นโดยสถานที่แรกที่เขาได้เดินทางไปสำรวจ คือ ประเทศบราซิล เพื่อรวบรวมพันธุ์ปลาน้ำจืดจากแม่น้ำในอเมริกาใต้ อักกะซี่ได้นำวามรู้จากประสบการณ์การเดินทางไปบรรยายที่ Cooper Union ในนิวยอร์ค ส่วนตัวอย่างที่เขาเก็บมาได้ ได้นำไปไว้ในพิพิธภัณฑ์ของเขานั่นเอง ต่อมาอักกะซี่ได้เดินทางไปสำรวจน่านน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิก และเมื่อเดินทางกลับเขาก็ได้ทำเหมือนกับทุก ๆ ครั้งที่ผ่านมาคือ นำประสบการณ์และความรู้ต่าง ๆมาบรรยายให้กับสาธารณชนได้รับรู้ส่วนสิ่งที่เขาเก็บมาได้ก็ยังคงนำไปเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์
จากผลงานชิ้นต่าง ๆ ของเขามากมาย ได้มีเศรษฐีผู้หนึ่งที่นิยมชมชอบในผลงานของเขาได้มอบที่ดินที่ Buzzard's Bay พร้อมกับเงินจำนวนหนึ่งสำหรับสร้างโรงเรียนธรรมชาติวิทยาในฤดูร้อนซึ่งอักกะซี่ก็ยอมรับด้วยดี ดังนั้นในวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1873 อักกะซี่ได้เดินทางโดยเรือไปยัง Buzzard's Bay หลังจากนั้นการก่อสร้างโรงเรียนก็เป็นอันสำเร็จ แต่เป็นที่น่าเสียดาย เพราะในปลายปีเดียวกันนั้น อักกะซี่ก็ต้องล้มป่วยเพราะอากาศที่หนาวเย็นจนเขาไม่สามารถทนได้ และเสียชีวิตในวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1873 แม้ว่าอักกะซี่จะเสียชีวิตไปแล้ว แต่สิ่งที่เขาทิ้งไว้ให้กับคนรุ่นหลังก็คือ พิพิธภัณฑ์ทางธรรมชาติวิทยาที่อักกะซี่ได้เก็บรวบรวมซากพืชซากสัตว์จากที่ต่าง ๆ ที่มีความน่าสนใจไว้เป็นจำนวนมาก
ที่มา
http://siweb.dss.go.th/Scientist/Scientist/Louis%20Johann%20Rudolph%20Agassiz.html
หลุยส์ อักกะซี่ หรือที่มีชื่อเต็มๆ ว่า หลุยส์ จอห์น รูดอล์ฟ อักกะซี่ (Louis Johann Rudolph Agassiz) เป็นนักธรรมชาติวิทยา ผู้ยิ่งใหญ่อีกท่านหนึ่ง ผลงานของเขาส่วนใหญ่เป็นการศึกษาเกี่ยวกับซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ อักกะซี่ได้เทุ่มเทเวลาในการศึกษาเรื่องนี้มากที่สุด ซึ่งเป็นการยากที่นักธรรมชาติวิทยาในยุคเดียวกันนั้นจะสามารถทำได้ และทำให้เขาได้รับการยกย่องให้เป็น บิดาแห่งซากหินดึกดำบรรพ์ อักกะซี่เป็นนักธรรมชาติวิทยาที่อยู่ในยุคเดียวกับชาร์ลส์ โรเบิร์ต ดาร์วินนักธรรมชาติวิทยาอันดับหนึ่งของโลก นอกจากนี้อักกะซี่ยังเป็นผู้หนึ่งที่สนับสนุนทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วิน
อักกะซี่เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1809 ที่เมืองมอติเออร์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์บิดาของเขาเป็นพระสอนศาสนาชาวฝรั่งเศส แต่ลี้ภัยทางศาสนาเข้ามาอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ หลังจากที่อักกะซี่จบการศึกษาขั้นต้นแล้ว เขาได้เข้าศึกษาต่อในวิชาแพทย์ การที่เขาศึกษาวิชานี้ก็เนื่องมาจากคุณตาของเขาเป็นศัลย์แพทย์ผู้มีชื่อเสียงมากผู้หนึ่ง อีกทั้งบิดามารดาของเขาก็ยังคาดหวังให้เขาเป็นศัลยแพทย์เช่นเดียวกับตาของเขา การศึกษาวิชาแพทย์เป็นโอการที่ดีทำให้เขามีความรู้เกี่ยวกับกายวิภาคดีมากผู้หนึ่ง นอกจากนี้เขายังได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการศึกษาและผ่าตัดสัตว์ที่เสียชีวิตแล้ว เพื่อศึกษาเกี่ยวกับอวัยวะภายในของสัตว์เหล่านั้น อักกะซี่ได้รวบรวมพันธุ์สัตว์ต่าง ๆ ไว้มากมายกว่า 40 ชนิด
ต่อมาในปี ค.ศ. 1926 ได้เดินทางไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยไฮเดนเบิร์ก ณ มหาวิทยาลัยแห่งนี้เขามีโอกาสได้ศึกษาภาษากรีก และโรมัน ทำให้เขามีโอกาสได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่มีประโยชน์มากมายหลายเล่ม อีกสิ่งหนึ่งที่เขาได้รับจากการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ก็คือ เขาได้รู้จักกับนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน พร้อมกันนั้นเขายังร่วมก่อตั้งสมาคมวิทยาศาสตร์โดยร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงหลายท่าน สมาคมแห่งนี้มีชื่อว่า The Little Academy
แม้ว่าอักกะซี่จะมีความรู้ทางการแพทย์ดีมากผู้หนึ่ง แต่สิ่งที่เขาสนใจกลับเป็นเรื่องของชีววิทยามากกว่า อักกะซี่ได้ทุ่มเทเวลาทั้งหมดให้กับการค้นคว้าทางด้านธรรมชาติ ซึ่งต่อมาเขาได้เขียนหนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่งโดยใช้ชื่อว่า ประวัติของธรรมชาติวิทยา ซึ่งเขาเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาจากคำชักชวนของศาสตราจารย์คาร์ล ฟอน มาร์ติอุส (Karl van Matius) ซึ่งเป็นอาจารย์ของเขา ผลงานชิ้นนี้ถือได้ว่าได้สร้างชื่อเสียงให้กับอักกะซี่เป็นอย่างมาก นอกจากนี้เขายังได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางปรัชญาศาสตร์อีกด้วย อักกะซั่งได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งเพราะนี้คือสิ่งที่เขารักมากที่สุด
ต่อมาอักกะซี่ได้หยุดการศึกษาด้านนี้ไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง เขาได้กลับไปค้นคว้าเกี่ยวกับวิชาแพทย์ตามที่เขาได้เล่าเรียนมา เขาได้เขียนหนังสือทางการแพทย์ขึ้นมาหลายเล่มได้แก่โรควิทยาคลอดบุตร หนังสือของเขาประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากซึ่งทำ ให้เขามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วทั้งทวีปยุโรปและอเมริกา และจากผลงานชิ้นนี้เขาได้รับรางวัลดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ในทางการแพทย์ ผลงานชิ้นนี้อักกะซี่สามารถทำให้บิดามารดาของเขารู้สึกภูมิใจในตัวเขาเป็นอย่างมาก
จากชื่อเสียงความรู้ ความสามารถ และความช่วยเหลือของอเล็กซานเดอร์ ฟอน อัมโบลต์ ซึ่งในขณะนั้นได้เป็นผู้ให้การสนับสนุน และให้คำแนะนำต่าง ๆ แก่อักกะซี่ ได้ช่วยเหลือให้เขาได้เข้าเป็นศาสตราจารย์สอนวิชาธรรมชาติวิทยาประจำมหาวิทยาลัยนอยซาเติลประเทศสวิตเซอร์แลนด์ การเรียนการสอนของอักกะซี่ภายในมหาวิทยาลัยเป็นไปได้ด้วยดี แต่สิ่งที่เขาไม่ชอบก็คือการเรียนการสอนที่อยู่ภายในห้องเรียน เขามีคามสุขกับการสอนอย่างมากถ้าได้ออกไปสอนนอกสถานที่ ตามป่าเขาลำเนาไพร ซึ่งทำให้นักเรียนได้เห็นของจริง ดังนั้นเขาจึงเริ่มทำการสอนแบบใหม่ โดยการจัดสวนตามแบบของนักปรัชญาชาวกรีก ในสวนแห่งนี้เขาไม่เป็นเพียงแต่ผู้สอนเท่านั้น เขายังได้มีโอกาสศึกษาเกี่ยวกับปรัชญากรีกโบราณอีกด้วย
สิ่งต่อมาที่อักกะซี่ทำการศึกษาก็คือ ซากพืชซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ เขาทำการศึกษาจนมีความชำนาญด้านนี้มากผู้หนึ่งซึ่งทำให้ นักธรรมชาติวิทยาที่มีชื่อเสียงหลายท่านในยุโรป โดยเฉพาะในอังกฤษได้เชิญเขาไปสำรวจตัวอย่างฟอสซิลของสัตว์ต่าง ๆ เท่าที่มีการรวบรวมเอาไว้และจากผลงานการค้นคว้าด้านนี้เขาได้รับรางวัล Wollaston Prize จากประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นโอกาสดีอันหนึ่งของอักกะซี่ เพราะเขากำลังต้องการเงินทุนในการศึกษางานด้านนี้ต่อไป
และเมื่อมีเงินทุน อักกะซี่ได้เดินทางไปยังแม่น้ำโรนเพื่อศึกษาเรื่องธารน้ำแข็ง แม้ว่าเขาจะได้รับคำทัดทานจากเพื่อนฝูงของเขาหลายคน เพราะบริเวณธารน้ำแข็งเป็นสถานที่ที่อันตรายอย่างมาก และเป็นการเสี่ยงชีวิตอย่างมากที่จะลงไปตรงใจกลางธารน้ำแข็ง แต่อักกะซี่ก็ไม่ได้ฟังคำทัดทานของเพื่อเลยแม้แต่น้อย เขายังคงลงไปตรงใจกลางน้ำแข็งที่มีอัตราการเคลื่อนไหลของน้ำแข็งถึงวันละ 40 ฟุต อักกะซี่ได้ลงไปในบ่อและลึกลงไปเรื่อย ๆ เขาพบว่าบริเวณปากบ่อของธารน้ำแข็งเป็นสีฟ้าอ่อนแกมเขียว เมื่อไต่ลึกลงไปอีก
เขาพบว่าสีของผนังบ่อเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ และเปลี่ยนเป็นสีฟ้าในตอนเที่ยงคืน และเมื่อลึกลงไปถึง 120 ฟุต อักกะซี่ต้องพบกับอากาศที่เย็นจัดของธารน้ำแข็ง ทำให้เขาต้องรีบกระตุกเชือกให้คนที่คอยอยู่ด้านบนรีบดึงเขาขึ้นไปในทันที แต่ไม่ถึงคนด้านบนจึงไม่ได้ยินสัญญาณของเขา อักกะซี่จึงต้องร้องตะโกน โชคดีที่คนด้านบนได้ยินจึงรีบดึงเขาขึ้นไป แต่ถึงอย่างนั้นก็เกือบทำให้เขาเสียชีวิต
หลังจากการสำรวจธารน้ำแข็งจบลงอักกะซี่ได้เขียนหนังสือขึ้นมาหลายเล่มโดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับยุคน้ำแข็งที่ชื่อว่า Le Systeme Glaaciaiae หนังสือเล่มนี้ก็ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกับหนังสือเล่มที่ผ่าน ๆ มาของเขาหนังสือที่ได้รับการยกย่องอย่างมากอีกเล่มหนึ่งเป็นหนังสือที่เกี่ยวกับการสำรวจทางธรณีวิทยา และจากผลงานชิ้นนี้คณะกรรมการแห่ง Lowell Institute ได้เชิญเขาไปแสดงปาฐกถาที่บอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งอักกะซี่ก็ตอบรับคำเชิญโดยทันที เขาได้ออกเดินทางไปบอสตันในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1846 นอกจากแสดงปาฐกถาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเขายังมีโอกาสได้รู้จักกับนักธรรมชาติวิทยาผู้มีชื่อเสียงและมีความสามารถหลายท่าน ทำให้อักกะซี่ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้กับนักวิทยาศาสตร์เหล่านี้ ทำให้เขารู้สึกประทับใจจนไม่ต้องการกลับไปที่สวิตแลนด์อีกและเมื่อภรรยาของเขาเสียชีวิต เขาได้แต่งงานใหม่กับหญิงสาวชาวอเมริกัน แต่เขาก็ยังคงส่งเงินสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายแก่บุตรชายทั้งสองของเขา
อักกะซี่ได้มีโอกาสเดินทางไปยังมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เพื่อเก็บรวบรวมตัวอย่างเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยา แต่ทำอยู่ได้ไม่นาน เขาก็ต้องเดินทางกลับไปยังมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเพื่อเข้าทำงานในโรงเรียนการแพทย์ที่ชาณ์ลส์ตัน แต่ในระหว่างนี้เขาก็ยังคงเก็บ สะสมซากสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย เพื่อจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ในเวลาต่อมา ซึ่งโชคก็เข้าข้างเขาให้ทำงาน นี้ได้สำเร็จโดยมีเพื่อของเขาผู้หนึ่งได้ทำพินัยกรรมมอบเงินจำนวน 50,000 เหรียญ เพื่อให้เขาได้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์ตามได้ตั้งใจไว้อักกะซี่ได้ใช้พื้นที่บริเวณมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเพื่อจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ซึ่งทางสภาการเมืองแห่งรัฐแมสซาชูเซสได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์ได้ แม้ว่าในครั้งแรกจะมีสมาชิกบางคนไม่เห็นด้วยก็ตาม อักกะซี่ได้ตั้งชื่อพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ว่า Museum of Comparative Zoology
หลังจากที่อักกะซี่ประสบความสำเร็จทั้งชื่อเสียงและเงินทองทำให้เขามีโอกาสได้เดินทางไปศึกษาหาความรู้ด้านธรรมชาติวิทยาตามสถานที่ต่าง ๆ มากขึ้นโดยสถานที่แรกที่เขาได้เดินทางไปสำรวจ คือ ประเทศบราซิล เพื่อรวบรวมพันธุ์ปลาน้ำจืดจากแม่น้ำในอเมริกาใต้ อักกะซี่ได้นำวามรู้จากประสบการณ์การเดินทางไปบรรยายที่ Cooper Union ในนิวยอร์ค ส่วนตัวอย่างที่เขาเก็บมาได้ ได้นำไปไว้ในพิพิธภัณฑ์ของเขานั่นเอง ต่อมาอักกะซี่ได้เดินทางไปสำรวจน่านน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิก และเมื่อเดินทางกลับเขาก็ได้ทำเหมือนกับทุก ๆ ครั้งที่ผ่านมาคือ นำประสบการณ์และความรู้ต่าง ๆมาบรรยายให้กับสาธารณชนได้รับรู้ส่วนสิ่งที่เขาเก็บมาได้ก็ยังคงนำไปเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์
จากผลงานชิ้นต่าง ๆ ของเขามากมาย ได้มีเศรษฐีผู้หนึ่งที่นิยมชมชอบในผลงานของเขาได้มอบที่ดินที่ Buzzard's Bay พร้อมกับเงินจำนวนหนึ่งสำหรับสร้างโรงเรียนธรรมชาติวิทยาในฤดูร้อนซึ่งอักกะซี่ก็ยอมรับด้วยดี ดังนั้นในวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1873 อักกะซี่ได้เดินทางโดยเรือไปยัง Buzzard's Bay หลังจากนั้นการก่อสร้างโรงเรียนก็เป็นอันสำเร็จ แต่เป็นที่น่าเสียดาย เพราะในปลายปีเดียวกันนั้น อักกะซี่ก็ต้องล้มป่วยเพราะอากาศที่หนาวเย็นจนเขาไม่สามารถทนได้ และเสียชีวิตในวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1873 แม้ว่าอักกะซี่จะเสียชีวิตไปแล้ว แต่สิ่งที่เขาทิ้งไว้ให้กับคนรุ่นหลังก็คือ พิพิธภัณฑ์ทางธรรมชาติวิทยาที่อักกะซี่ได้เก็บรวบรวมซากพืชซากสัตว์จากที่ต่าง ๆ ที่มีความน่าสนใจไว้เป็นจำนวนมาก
ที่มา
http://siweb.dss.go.th/Scientist/Scientist/Louis%20Johann%20Rudolph%20Agassiz.html