วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เจมส์ คลาร์ก แมเวล : James Clark Maxwell

เจมส์ คลาร์ก แมเวล : James Clark Maxwell

1781145_maxwell.jpg1781146_maxwell_5-thumb.jpg

เกิด
วันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1831 ที่เอดินเบิร์ก (Edinburg) ประเทศสก็อตแลนด์ (Scotland)

เสียชีวิต
วันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1879 ที่เคมบริดจ์ (Cambridge) ประเทศอังกฤษ (England)

ผลงาน
- ทฤษฎีพลังงานจลน์ของความร้อน (Kinetic Theory of Heat)
- ทฤษฎีพลังงานจลน์ของก๊าซ (Kinetic Theory of Gas)
- ทฤษฎีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

ผู้ค้นพบทฤษฎีความร้อนซึ่งเป็นผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้เขามากที่สุดนอกจากนี้เขายังค้นพบว่าแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถ
ผ่านอีเทอร์ได้ โดยมีความเร็วเท่ากับความเร็วแสง

แมกเวลเกิดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1831 ที่เอดินเบิร์ก ประเทศสก็อตแลนด์ ในตระกูลที่ร่ำรวยและมีชื่อเสียงมาก

หลังจากที่แมกเวลจบการศึกษาขั้นต้นแล้ว เขาได้เข้าเรียนต่อวิชาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยเอดินเบิร์ก (Edinburg University)ในระหว่างที่เขาศึกษาอยู่ที่นี่ เขาได้รู้จักกับนักฟิสิกส์ท่านหนึ่ง วิลเลี่ยม นิคอน (William Nikon) ซึ่งค้นคว้าเกี่ยวกับแสง เพื่อใช้สำหรับการถ่ายภาพเขาได้ประดิษฐ์ปริซึมแบบพาราโบลาขึ้นมา แมกเวลได้พบว่าแม่สีของแสงมี 3 สี ได้แก่ แสงสีแดง เขียว และน้ำเงิน ซึ่งทฤษฎีนี้ได้นำมาใช้เกี่ยวกับการอัดภาพสี

หลังจากจบการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเอดินเบิร์กแล้ว แมกเวลได้เข้าเรียนต่อวิชาคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์(Cambidge University) จบการศึกษาด้วยปริญญาเกียรตินิยมอันดับ1หลังจากนั้นเขาได้ทำงานในตำแหน่งศาสตราจารย์วิชาปรัชญาธรรมชาติที่วิทยาลัยมาริสคาล (Marischal College) ที่กรุงอะเบอร์ดีน (Aberdeen) ในระหว่างที่เขาทำงานอยู่ที่มาริสคาล เขาได้เข่าร่วมกับคณะดาราศาสตร์ เพื่อค้นคว้าหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลักษณะของวงแหวนของดาวเสาร์ แมกเวลได้เสนอความเห็นว่าวงแหวนของดาวเสาร์ประกอบไปด้วยดาวเคราะห์น้อย (Planetoid) จำนวนมากมายทั้งขนาดใหญ่่และขนาดเล็ก รวมตัวกันจนมีความหนาแน่นรอบ ๆ ดาวเสาร์ ซึ่งเมื่อมองจากโลกจะเห็นเป็นวงแหวน แต่นักดาราศาสตร์ในยุคนั้นเชื่อว่าวงแหวนของดาวเสาร์เป็นของแข็ง ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นเมื่อดาวเสาร์หมุนรอบตัวเองก็จะเกิดแรงเหวี่ยงมหาศาลกระทำต่อวงแหวนนี้จนแตกหัก เมื่อทฤษฎีของแมกเวลเผแพร่ออกไปนักดาราศาสตร์ต่างก็ให้การยอมรับ และสนับสนุนทฤษฎีของแมกเวล

ในปี ค.ศ. 1860 แมกเวลได้ย้ายไปทำงานที่วิทยาลัยคิงส์ (King's College) ที่กรุงลอนดอนในตำแหน่งศาสตราจารย์วิชาฟิสิกส์ เข้าทำงานอยู่ที่นี่ได้ประมาณ 5 ปี ก็ลาออก และย้ายไปอยู่ที่เมืองเคนซิงต้น (Kensingtion) ประเทศสก็อตแลนด์เพื่อทำการทดลองเกี่ยวกับก๊าซ ในเรื่องของการเคลื่อนที่ ความเร็ว และทิศทางการฟุ้งกระจายของก๊าซ โดยแมกเวลได้ทำการศึกษาก๊าซที่ละชนิดที่อยู่ในภาชนะ และนอกภาชนะ จากการทดลองแมกเวลได้ตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับพลังงานจลน์ของก๊าซขึ้น แต่ด้วยในขณะนั้นมีนักวิทยาศาสตร์อีกท่านหนึ่ง ชื่อ ลุดวิค โบลทซ์มาน (Ludwig Boltzmann) ได้ทำการค้นคว้าทดลอง และได้ผลสรุปเช่นเดียวกับแมกเวล จึงมีชื่อเรียกทฤษฎีแห่งพลังงานจลน์นี้ว่า "ทฤษฎีแห่งพลังงานจลน์แมกเวล - โบลทซ์มานของก๊าซ (Kinetic Maxwell - Boltzmann Theory of Gas)" เข้าได้นำหลังการเดียวกันนี้มาทดลองเกี่ยวกับความร้อนขึ้นบ้าง และค้นพบ ทฤษฎีพลังงานจลน์ของความร้อน (Kinetic Theory of Heat) ในเวลาต่อมา

ในปี ค.ศ. 1864 แมกเวลได้เริ่มการทดลองเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างแม่เหล็กและไฟฟ้าแมกเวลกล่าวว่า ไฟฟ้าและแม่เหล็กมีความสัมพันธ์กันเมื่อมีแม่เหล็กก็ต้องมีไฟฟ้า ดังนั้นแมกเวลจึงใช้หลักการนี้สร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้น โดยการปล่อยกระแสไฟฟ้าให้แผ่รัศมีออกไป โดยใช้ความเร็วคงที่ จากการคำนวณของแมกเวลที่เกิดจากการนำอำนาจแม่เหล็กกับหน่วยไฟฟ้ามาหาอัตราส่วนกัน ผลปรากฏว่าความเร็วที่เหมาะสม คือ 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที

ในปี ค.ศ. 1871 แมกเวลได้เข้าทำงานอีกครั้งหนึ่งในตำแหน่งศาสตราจารย์ควบคุมห้องทดลองของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และด้วยความนับถือในผลงานของเฮนรี่ คาเวนดิช เขาจึงได้ริเริ่มสร้างห้องทดลองคาเวนดิชขึ้นในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้กับคาเวนดิชห้องทดลองนี้มีชื่อว่า ห้องทดลองฟิสิกส์คาเวนดิช

แมกเวลเสียชีวิตเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1879 ที่เคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ

ที่มา
http://siweb.dss.go.th/Scientist/scientist/James%20Clark%20Maxwell.html

จอห์น ดาลตัน : John Dalton

จอห์น ดาลตัน : John Dalton

1781010_dalton.jpg

เกิด
วันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1766 ที่เมืองคอกเกอร์เมาท์ ประเทศอังกฤษ (England)

เสียชีวิต
วันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1844 ที่เมืองแมนเชสเตอร์ (Manchester) ประเทศอังกฤษ

ผลงาน
- ทฤษฎีอะตอม (Atomic Theory)
- ค้นพบกฎความดันย่อย
- อธิบายสาเหตุของตาบอดสี

ดาลตันเป็นนักฟิสิกส์ และนักเคมีชาวอังกฤษผู้ค้นพบทฤษฎีอะตอม ซึ่งทำให้เขามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในวงการวิทยาศาสตร์มากขึ้น

ดาลตันเกิดเมื่อวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1766 ที่เมืองคอกเกอร์เมาท์ ประเทศอังกฤษ ในครอบครัวที่ยากจน บิดาของเขาชื่อโจเซฟ ดาลตัน (Joseph Dalton) มีอาชีพเป็นช่างทอผ้า เขามีความสนใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่เด็กและตั้งใจว่าเมื่อโตขึ้นจะต้องเป็นนักวิทยาศาสตร์ให้ได้ แล้วความตั้งใจของเขาก็เป็นจริง ดาลตันเข้ารับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนของจอห์นเฟลทเชอร์(John Fletcher) ซึ่งใช้โรงสวดที่ทำพิธีกรรมทางศาสนา เป็นสถานที่ทำการเรียนการสอนและเมื่อมีผู้ต้องการใช้โรงสวดนี้ประกอบพิธีกรรม โรงเรียนก็ต้องปิดทำการเมื่อโรงเรียนหยดดาลตันมักใช้เวลาไปกับการหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องวิทยาศาสตร์อยู่เสมอไม่เหมือนกับเด็กคนอื่นเมื่อโรงเรียนหยุดก็มักจะพากันเที่ยวเล่นอย่างสนุกสนาน

ต่อมาในปี ค.ศ. 1778 โรงเรียนแห่งนี้ต้องหยุดกิจการลง ดังนั้นดาลตันจึงมีความคิดที่จะเปิดโรงเรียนขึ้นบ้าง โดยใช้โรงนาเป็นสถานที่เรียนดาลตันเก็บค่าเรียนเป็นรายคน โดยเก็บคนละ 6 เพนนี (Penny) ต่อสัปดาห์ แต่ต่อมาไม่นานโรงเรียนของดาลตันก็ต้องปิดกิจการลง เนื่องจากชาวบ้านต้องการใช้สถานที่สำหรับประกอบพิธีทางศาสนา ภายหลังจากที่โรงเรียนปิดดาลตันได้นำเงินที่เกิดสะสมไว้เปิดร้านจำหน่ายหนังสือ และออกวารสาร ต่อมาในปี ค.ศ. 1781 ดาลตันได้เข้าทำงานเป็นครูอีกครั้งหนึ่งที่โรงเรียน ของพี่ชายเขาเองที่เมืองเคนดอล

วิทยาศาสตร์แขนงที่ดาลตันให้ความสนใจมากที่สุด คือ อุตุนิยมวิทยา (Meteorology) ดาลตันได้สร้างเครื่องมือเพื่อช่วยในการทดลองครั้งนี้ด้วย ได้แก่ บารอริเตอร์ (Barometer) ใช้สำหรับวัดความดันอากาศ เทอร์มอมิเตอร์ (Thermometer1) ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิ และไฮโกรมิเตอร์(Hygrometer) ใช้สำหรับวัดความชื้นในอากาศ ดาลตันใช้เครื่องมือทั้ง 3 ชนิดนี้วัดสภาพความเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ และจดบันทึกไว้อย่างละเอียดเป็นประจำทุกวัน จนกระทั่วเขาเสียชีวิต รายงานเรื่องนี้ของดาลตันมีมากมาย เขาได้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดลงในหนังสือชื่อว่า การสังเกตการณ์ทางอุตุนิยมวิทยา ซึ่งออกตีพิมพ์เผยแพร่ในปี ค.ศ. 1783

ในปี ค.ศ. 1792 ดาลตันได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยา เขาศึกษาจนมีความชำนาญด้านนี้เป็นอย่างดี และได้ตีพิมพ์หนังสือออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า ออร์ทัส ซิคคัส ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับพันธุ์พืชและสัตว์ มีจำนวน ถึง 11 เล่ม จากผลงานชิ้นดังกล่าวดาลตันได้รับเชิญจากวิทยาลัยนิวคอลเลจ แมนเชสเตอร์ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์สอนวิชาปรัชญาธรรมชาติและคณิตศาสตร์

ต่อมาดาลตันได้ย้านไปอยู่ที่เมืองยอร์ค ที่นี่เขาได้ทำงานเป็นครูพิเศษสอนวิชาคณิตศาสตร์โดยเก็บค่าสอนเป็นรายชั่วโมงและในระหว่างนี้เขาได้ทำการทอลงเกี่ยวกับเคมี และในปี ค.ศ. 1808 ดาลตันได้ตีพิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งมีชื่อว่า A New System of ChemicalPhilosophy เล่มที่ 1 เป็นเรื่องเกี่ยวกับทฤษฎีอะตอม (Atomic Theory) โดยดาลตันเป็นคนแรกที่ค้นพบทฤษฎีนี้ในระหว่างปี ค.ศ. 1801 - 1803 ต่อมาในปี ค.ศ. 1810 ดาลตันได้พิมพ์หนังสือเล่มที่ 2 ชื่อว่า A New System of Chemical Philosophy จากหนังสือทั้ง 2 เล่มนี้ สามารถอธิบายสมบัติของอะตอมได้ชัดเจนที่สุด ดาลตันสรุปเกี่ยวกับทฤษฎีอะตอมไว้ดังนี้
1. ธาตุต่าง ๆ ประกอบไปด้วยอนุภาคเล็ก ๆ จำนวนมาก และอนุภาคเล็ก ๆ เหล่านี้ เรียกว่า "อะตอม (Atoms)"
2. อะตอมของธาตุต่าง ๆ ก็มีลักษณะ และน้ำหนักประจำเฉพาะของธาตุนั้น
3. สารประกอบเกิดจากการรวมตัวของสสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป และต้องเป็นไปในอัตราส่วนที่เลขลงตัวเสมอ เช่น
อัตราส่วนเป็น 4 : 1 เสมอ จะไม่เป็น 4.1 : 1 เด็ดขาด
4. อะตอมไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ หรือทำลายให้สิ้นสูญไปได้
5. อะตอมเป็นหน่วยที่เล็กที่สุด ในส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของธาตุ ซึ่งไม่สามารถแยกออกไปได้อีก

นอกจากนี้เขายังใช้สัญลักษณ์แทนอะตอมของธาตุ และสารประกอบด้วย เช่น แทน ไฮโดรเจน, แทนออกซิเจน, แทน คาร์บอน,แทน คาร์บอนไดออกไซด์, แทน คาร์บอนมอนอกไซด์ จากการค้นพบดังกล่าว จึงถือได้ว่าดาลตันเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่ค้นพบสมบัติของอะตอม และกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับอะตอม

หลังจากนั้นดาลตันได้ทดลองเรื่องความดันของก๊าซ ดาลตันได้ตั้งกฎว่าด้วยความดันย่อย (Dalton's Low of Partial Pressures)โดยมีใจความสำคัญว่า เมื่อธาตุถูกกดดันมาก ๆ จะเกิดการเสียดสีกันของโมเลกุลทำให้เกิดความร้อน ต่อจากนั้นเขาได้ตั้งกฎเกี่ยวกับการระเหยของของเหลว (Evaporation of Liquids) ภายหลังจากการทดลอง ดาลตันพบว่า "ของเหลวจะระเหยกลายเป็นไอได้มากหรือน้อย มีอุณหภูมิเป็นตัวแปรสำคัญเพียงอย่างเดียวเท่านั้น"

นอกจากนี้เขายังค้นคว้าเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้ตาบอดสี (Color - Blindness) เขาได้อธิบายสาเหตุของตาบอดสีว่าเกิดจากความผิดปกติของสารที่ทำหน้าที่แปรผลของสี การที่ดาลตันค้นคว้าเรื่องนี้ เนื่องจากน้องชายของเขาตาบอดสีนั่นเอง

ดาลตันเสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1844 ที่เมืองแมนเชสเตอร์ (Manchester) ประเทศอังกฤษ

1781011_103.png

ที่มา
http://siweb.dss.go.th/Scientist/scientist/John%20Dalton.html

จอร์จ ไซมอน โอห์ม : George Simon Ohm

1780977_ohm.jpg

จอร์จ ไซมอน โอห์ม : George Simon Ohm

เกิด
วันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1787 ที่เมืองเออร์แลงเกนประเทศเยอร์มนี

เสียชีวิต
วันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1854 ที่เมืองมิวนิคประเทศเยอรมนี

ผลงาน
- ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างความต่างศักย์ไฟฟ้าและความต้านทานไฟฟ้า
- ตั้งกฎของโอห์ม (Ohm's Law)

โอห์มเกิดเมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1787 ที่เมืองเออร์แลงเกน ประเทศเยอรมนี บิดาของเขาชื่อว่า โจฮัน โอห์ม (John Ohm) มีอาชีพเป็นช่างทำกุญแจ และปืน แม้ว่าฐานะทางครอบครัวของเขาจะค่อนข้างยากจน ถึงอย่างนั้นโอห์มก็ขวนขวายหาความรู้อยู่เสมอ โอห์มเข้าเรียนขั้นต้นในโรงเรียนรีลสคูลในแบมเบิร์ก หลังจากจบการศึกษาขั้นต้นแล้ว โอห์มได้เข้าศึกษาเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยแห่งเมืองเออร์แลงเกน (University of Erlangen) แต่เรียนอยู่ได้เพียงปีกว่า ๆ เท่านั้นเขาก็ลาออก เพราะขาดทุนทรัพย์ จากนั้นโอห์มได้สมัครงานเป็นครูสอนหนังสือที่ Gattstodt ในเมืองเบิร์น (Bern)ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ต่อมาโอห์มได้เข้าศึกษาต่ออีกครั้งหนึ่ง และได้รับปริญญาเอกทางคณิตศาสตร์ แต่เขาก็ยังคงทำงานอยู่ที่โรงเรียนแห่งนั้นจนกระทั่วปี ค.ศ. 1817 โอห์มได้รับเชิญจากพระเจ้าเฟรดเดอริคแห่งปรัสเซีย (King Frederick of Prussia) ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์สอนวิชาคณิตศาสตร์ ประจำวิทยาลัยจีสุท (Jesuit College) แห่งมหาวิทยาลัยโคโลญ (Cologne University) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ต่อมาในปี ค.ศ. 1822 นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส โจเซฟ ฟอร์เรอร์ (Joseph Fourier) ได้เผยแพร่ผลงานออกมาเล่มหนึ่ง ชื่อว่า การไหลของความร้อน (Analytic Theory of Heat) ภายในหนังสือเล่มนี้ได้อธิบายเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของความร้อนไว้ว่า "อัตราการเคลื่อนที่ของความร้อนจากจุด A ไปยังจุด B ขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของจุดทั้งสอง และขึ้นอยู่กับตัวนำด้วยวาสามารถถ่ายทอดความร้อนได้ดีขนาดไหน" เมื่อโอห์มได้อ่านผลงานชิ้นนี้เขาได้เกิดความสนใจ ที่จะทำการทดลองเช่นเดียวกันนี้กับไฟฟ้าขึ้นบ้าง หลังจากทำการทดลองโดยอาศัยหลักการเดียวกับฟอร์เรอร์ เขาพบว่าการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าระหว่างจุด 2 จุด จะต้องขึ้นอยู่กับวัตถุที่นำมาใช้เป็นตัวนำไฟฟ้าเช่นกัน คือ ควรเลือกโลหะที่เป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี เช่น ทองแดง เงิน หรืออะลูมิเนียม เป็นต้น นอกจากนี้เมื่อโลหะที่เป็นตัวนำไฟฟ้ามีความร้อนมากขึ้น ก็จะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลได้น้อยลงด้วย หลังจากการทดลองไฟฟ้าในขั้นต้นสำเร็จลงแล้ว โอห์มได้เดินทางไปยังเมืองโคโลญ เพื่อเข้าเป็นอาจารย์สอนที่ยิมเนเซียม (Gymnasium) ในระหว่างนี้ในปี ค.ศ. 1826 โอห์มได้จัดพิมพ์หนังสือออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า Bestimmung des Gesetzes nach Welohem die Metalle die Kontaktee

ในปีต่อมาโอห์มได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการนำไฟฟ้าต่ออีก และเขาก็พบสมบัติเกี่ยวกับการไหลของไฟฟ้าเพิ่มเติมอีก
2 ประการ คือ ความยาวของสายไฟ (ถ้ายิ่งมีความยาวมากก็จะมีความต้านทานไฟฟ้ามาก) และพื้นที่หน้าตัดของสายไฟ(ถ้ายิ่งมีพื้นที่หน้าตัดมาก ก็จะมีความต้านทานไฟฟ้ามาก) กระแสไฟฟ้าก็ไหลได้น้อยลง การพบสมบัติข้อนี้เขาได้เขียนลงในหนังสือชื่อว่า Die Galvanisehe Katte Mathemetisoh Bearbeitet ภายในหนังสือเล่มนี้มีรายละเอียดเกี่ยวกับการทดลอง ซึ่งเขาตั้งเป็นกฎชื่อว่า กฎของโอห์ม (Ohm's Law) โดยมีหลักสำคัญว่า การเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวนำไฟฟ้า เป็นปฏิภาคโดยตรงกับความต่างศักย์ และเป็นปฏิภาคผกปันกับความต้านทาน กล่าวคือ การเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้า ระหว่างจุด 2 จุด ย่อมขึ้นอยู่กับสมบัติสำคัญ 4 ประการของตัวนำไฟฟ้า คือ
1. วัสดุที่ใช้เป็นตัวนำไฟฟ้าได้ดี
2. วัสดุที่ใช้ต้องทนความร้อนได้สูง
3. ความยาวของสายไฟต้องไม่มากจนเกินไป
4. พื้นที่หน้าตัดของสายไฟต้องไม่ใหญ่จนเกินไป

โดยสามารถคำนวณความต่างศักย์ระหว่างจุดทั้ง 2 จากสมการดังต่อไปนี้ I = E/R โดย
I หมายถึง ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลในสายไฟตัวนำ
E หมายถึง แรงเคลื่อนทางไฟฟ้า
R หมายถึง ความต้านทานของสายไฟตัวนำ

จากผลงานชิ้นดังกล่าว แทนที่โอห์มจะได้รับยกย่องแต่เขากลับได้รับการต่อต้านอย่างมากจากชาวเยอรมันเเนื่องจากความ
ไม่รู้ และไม่เข้าใจนั่นเอง ทำให้ในระหว่างนี้โอห์มได้รับความลำบาก แต่ชาวต่างประเทศกลับเห็นว่าผลงานชิ้นนี้ของโอห์มเป็นงาน ที่มีคุณประโยชน์มากและในปี ค.ศ. 1841 โอห์มได้รับมอบเหรียญคอพเลย์ (Copley Medal) จากราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน (Royal Society of London) และในปีต่อมาเขาก็ได้รับเชิญให้ร่วมสมาคมนี้ด้วย เมื่อรัฐบาลเยอรมนี เห็นดังนั้นจึงเริ่มหันมาให้ความสนในโอห์ม และในปี ค.ศ. 1849 เมื่อโอห์มเดินทางกลับจากประเทศอังกฤษ เขาได้รับเชิญให้เป็นศาสตราจารย์ ประจำมหาวิทยาลัยมิวนิค (Munich University) ไม่เฉพาะเรื่องไฟฟ้าเท่านั้นที่โอห์มทำการค้นคว้า เขายังค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องแสงด้วย แต่ไม่เป็นที่สนใจมากเท่ากับเรื่องไฟฟ้า โอห์มเสียชีวิตในวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1854 ที่มิวนิคประเทศเยอรมนี ถึงแม้ว่าเขาจะเสียชีวิตไปแล้วแต่ชื่อของเขาก็ยังถูกนำมาใช้เป็นหน่วยวัดความต้านทานไฟฟ้า ในปี ค.ศ. 1881 สมาคมไฟฟ้านานาชาติ (Internation Congress of Electrical Engineers) ได้ตกลงร่วมกันที่กรุงปารีสว่าควรใช้ชื่อของโอห์ม เป็นหน่วยวัดความต้านทานไฟฟ้า โดยความต้านทาน 1 โอห์ม หมายถึง กระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ ไหลผ่านบนตัวนำไฟฟ้าภายใต้ความต่างศักย์ไฟฟ้า 1 โวลต์

1780976_friction.jpg

ที่มา
http://siweb.dss.go.th/Scientist/scientist/George%20Simon%20Ohm.html

โจฮันเนส เคพเลอร์ : Johannes Kepler

โจฮันเนส เคพเลอร์ : Johannes Kepler

1780881_kepbig1.jpg

เกิด
วันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1571 ที่เมืองวีล (Weil) ประเทศเยอรมนี (Germany)

เสียชีวิต
วันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1630 ที่เมืองแรทอิสบอน (Ratisbon) ประเทศเยอรมนี (Germany)

ผลงาน
- ค้นพบการโคจรของดวงดาว (Planetary Motion)


เคพเลอร์เป็นนักดาราศาสตร์ที่มีผลงานดีเด่นท่านหนึ่ง เขาเป็นนักดาราศาสตร์ที่พบว่าการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวง
อาทิตย์ไม่ได้เป็นวงกลม ตามที่นิโคลัส โคเปอร์นิคัส เข้าใจ แต่เขาพบว่าการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์เป็นไปในลักษณะวงรี ซึ่งเป็นผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขามากที่สุด และสร้างประโยชน์อย่างมหาศาลให้กับวงการดาราศาสตร์ในยุคนั้น และส่งผลต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้

เคพเลอร์เกิดเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1571 ที่เมืองวีล ประเทศเยอรมนี ครอบครัวของเคพเลอร์ค่อนข้างยากจน บิดาของเขาเป็นทหารและมีนิสัยชอบดื่มสุรา ทำให้เกิดทะเลาะวิวาทกับมารดาของเขาเสมอ และไม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่เคพเลอร์ ทำให้เขาล้มป่วยด้วยไข้ทรพิษ แม้ว่าเขาจะรอดชีวิตมาได้แต่ต้องพิการแขนข้างหนึ่ง และสายตาก็ไม่ค่อยดีเท่าไร ถึงแม้ว่าฐานะของครอบครัวจะยากจน แต่ด้วยความที่เคพเลอร์เป็นคนขวนขวายที่จะศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ เขาได้สมัครเข้าทำงานเป็นเด็กรับใช้ของนักบวชเพื่อแลกกับการเข้าเรียนในโรงเรียนภายในโบสถ์แห่งนั้น เคพเลอร์เป็นเด็กที่มีความขยันขันแข็ง เขาใช้เวลาส่วนใหญ่กับการอ่านหนังสือ และหาความรู้เพิ่มเติมทำให้เขาสามารถสอบไล่ได้ที่ 1 เป็นประจำทุกปี อีกทั้งเขายังได้รับทุนการศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยทูบินเกน (Tubingen University) เคพเลอร์ได้เข้าศึกษาในวิชาดาราศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ตามคำแนะนำของศาสตราจารย์มิคาเอล มัสท์ลิน (Michael Mastlin) นักดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ ซึ่งเคพเลอร์ก็สามารถเรียนได้เป็นอย่างดี เคพเลอร์จบการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยทูบินเกนในปี ค.ศ. 1593

หลังจากจบการศึกษาเขาได้เข้าทำงานในตำแหน่งศาสตราจารย์ สอนวิชาคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ ประจำมหาวิทยาลัยกราซ (Graz University) ที่ประเทศออสเตรีย (Austria) ในระหว่างนี้เขาได้ทำการทดลองเกี่ยวกับดาราศาสตร์หลายเรื่อง ได้แก่ ลักษณะการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ สาเหตุของการโคจร ระยะเวลาการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์แต่ละดวงว่าทำไมถึงแตกต่างกัน และทำไมถึงมีดาวเคราะห์ 6 ดวง อีกทั้งสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ ซึ่งในขณะนั้น ยังไม่มีนักดาราศาสตร์ผู้ใดสรุปเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ได้เลย เพราะพวกเขาก็ไม่พบคำตอบ เคพเลอร์ทำงานอยู่ที่มหาวิทยาลัยกราซได้เพียง 7 ปี เท่านั้น เขาก็ลาออก

เนื่องจากได้รับการติดต่อจากทิโค บราห์ (Tycho Brahe) นักดาราศาสตร์ชาวเดนมาร์ก ได้เชิญเคพเลอร์ไปสนทนา
เกี่ยวกับเรื่องดาราศาสตร์ ซึ่งเคพเลอร์เห็นว่าเป็นโอกาสที่ดี อีกทั้งหอดูดาวเบนาทคี (Benatky) มีอุปกรณ์ที่ทันสมัยมากเหมาะ สำหรับการค้นคว้าทางดาราศาสตร์ แต่เมื่อเคพเลอร์เดินทางไปถึงกรุงปราค เขาได้รับการแต่งตั้งจากพระเจ้ารูดอล์ฟที่ 2 (King Rudolph II) ให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยของทิโค บราห์ นักดาราศาสตร์ชาวเดนมาร์ก (ค.ศ. 1546 - 1601) ที่หอดูดาวเบนาทคีที่กรุงปราค หลังจากนั้นอีก 1 ปี บราห์ก็เสียชีวิต พระเจ้ารูดอล์ฟที่ 2 ให้ เคพเลอร์ ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติงานต่อจากที่บาร์ห์ทำไว้ งานชิ้นสำคัญที่บารห์ทิ้งไว้ และยังไม่สำเร็จ คือ รูดอล์ฟที่ 2 ผู้ให้การสนับสนุน บารห์ได้ทำบันทึกบอกตำแหน่งของดวงดาวต่าง ๆ ที่ไม่เคลื่อนที่ไว้ถึง 777 ดวง ต่อมาเคพเลอร์ได้ติดตาม และเฝ้าดูดวงดาวเหล่านี้ และได้พบดวงดาวเพิ่มอีก 228 ดวง รวมเป็น 1,005 ดวง บัญชีตารางดาวรูดอล์ฟเฟียนเป็นบัญชีตารางดาวที่สมบูรณ์แบบและถูกต้องมากที่สุด ซึ่งเคพเลอร์ใช้เวลาในการในการค้นคว้านานถึง 27 ปี บัญชีตารางดาวรูดอล์ฟเฟียนมีประโยชน์อย่างมากสำหรับนักเดินเรือ เนื่องจากในสมัยนั้นยังไม่มีอุปกรณ์ ที่ช่วยในการเดินเรือที่ทันสมัยอย่างเช่นในปัจจุบัน ดังนั้นจึงต้องสังเกตการณ์จากดวงดาวบนท้องฟ้าเป็นสำคัญ

แต่ในระหว่างที่เคพเลอร์ทำบันทึกตารางดาวอยู่นี้ เขาได้ศึกษาทฤษฎีดาราศาสตร์หลายเรื่อง ได้แก่ การโคจรของดาวเคราะห์ ซึ่งตามทฤษฎีของนิโคลัส โคเปอร์นิคัส กล่าวว่า "เทหวัตถุบนฟากฟ้าใด ๆ โคจรในลักษณะวงกลมเสมอ" จากการเฝ้าติดตามดูดวงดาว บนฟากฟ้าเป็นเวลานานประกอบกับอุปกรณ์อันทันสมัย เคพเลอร์พบว่าดาวเคราะห์ไม่ได้โคจรเป็นวงกลมแต่โคจรเป็นวงรี อีกทั้งระยะเวลาในการหมุนรอบตัวเองของดาวเคราะห์ยังมีความเร็วต่างกันอีกด้วย คือ ในขณะที่ดาวเคราะห์โคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์จะหมุนรอบตัวเองช้าลง ทำให้การเคลื่อนที่ช้าลงตามไปด้วย แต่ถ้ายิ่งอยู่ห่างดวงอาทิตย์มากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะยิ่งหมุนเร็วมากขึ้น ปรากฏการณ์เช่นนี้สามารถสังเกตได้จากฤดูกาลบนโลก คือ ในฤดูหนาวมีระยะเวลากลางวันสั้นกว่าในฤดูร้อนจากผลงานการค้นพบครั้งนี้ในปี ค.ศ. 1609 เคพเลอร์ได้ตีพิมพ์ผลงานออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า Astronomia Nova หรือการค้นพบครั้งใหม่ทางดาราศาสตร์ ภายในหนังสือเล่มนี้เคพเลอร์ได้อธิบายเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์คือ การโคจรเป็นวงรีของ ดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ (Law of Elliptic Orbits)

ในปี ค.ศ. 1619 เคพเลอร์ได้ตีพิมพ์หนังสือออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า Harmonices Mundi (Harmonics of the World)หรือ ความกลมกลืนของจักรวาล ภายในหนังสือเล่มนี้มีรายละเอียดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางและระยะเวลาในการ หมุนรอบตัวเองของดาวเคราะห์ เคพเลอร์ได้นำมาตั้งเป็นกฎชื่อว่า Law of Planetary Motion

เคพเลอร์ทำงานอยู่ที่หอดูดาวเบนาทคีจนกระทั่งพระเจ้ารูดอล์ฟที่ 2 สิ้นพระชนม์ ในปี ค.ศ. 1612 เคพเลอร์จึงลาออก แต่ก็ยังศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับดาราศาสตร์จนกระทั่งเสียชีวิตในวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1630


ที่มา
http://siweb.dss.go.th/Scientist/scientist/Johannes%20Kepler.html

แมกซ์ แพลงค : Max Planck

1780878_planck_article.jpg

แมกซ์ แพลงค : Max Planck

เกิด
วันที่ 23 เมษายน ค.ศ.1858 ที่เมืองคีล (Kiel) ประเทศเยอรมนี (Germany)

เสียชีวิต
วันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ.1947 ที่เมืองกอตติงเกน (Gottingen) ประเทศเยอรมนี (Germany)

ผลงาน
- ผู้ค้นพบทฤษฎีควอนตัม (Quantum Physics)
- ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์

แพลงคเกิดเมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ.1858 ที่เมืองคีล ประเทศเยอรมนี บิดาของเขาเป็นทนายความ และศาสตราจารย์ประจำภาควิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่มหาวิทยาลัยคีล (Kiel University) ชื่อว่า จูเลียต วิลเฮล์ม แพลงค (Juliet Wilhelm Planck) เมื่อเขาอายุได้ 9 ปี ครอบครัวได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองมิวนิค (Munich) เนื่องจากบิดาต้องย้ายไปทำงานที่นั่น ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนี ต่อจากนั้นเขาได้เข้าศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนแมกซิมิเลียม ยิมเนซียม (Maximiliam Gymnasium) แต่เรียนอยู่ได้ไม่นานนักก็ต้องลาออก เนื่องจากบิดาของเขาต้องย้ายไปทำงานที่เมืองเบอร์ลิน (Berlin) เมืองหลวงของประเทศเยอรมนี

ต่อจากนั้นเขาได้เข้าศึกษาต่อในวิชาฟิสิกส์ทฤษฎี ที่มหาวิทยาลัยมิวนิค (Munich University) หลังจากจบการศึกษาเขาได้เข้าศึกษาต่อในวิชาฟิสิกส์ ในมหาวิทยาลัยเบอร์ลิน (Berlin University)

หลังจากจบการศึกษาแล้ว ในปี ค.ศ.1885 มหาวิทยาลัยคีลได้ตกลงกับแพลงคเข้าเป็นอาจารย์สอนวิชาฟิสิกส์ทฤษฎีในระหว่างนี้แพลงคได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับพลังงานเรื่องธรรมชาติของพลังงาน และเอนโทรปี (Entropy) และได้ส่งผลงานการค้นคว้าเกี่ยวกับธรรมชาติของพลังงานเข้าประกวดที่เมืองกอตติงเกน (Gottingen) และได้รับรางวัลที่ 2 จากนั้นในปี ค.ศ.1889 เขาย้ายไปสอนที่มหาวิทยาลัยเบอร์ลินแทนกุลสตาฟ เคิร์กชอฟ ศาสตราจารย์ที่เสียชีวิตไป พร้อมกับได้เลื่อนตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์แพลงคได้ทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัยแห่งนี้จนกระทั่งปี ค.ศ.1926

ในปี ค.ศ.1900 แพลงคได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับเทอร์โมไดนามิค (Thermo dynamic) ซึ่งเป็นผลงานที่ทำให้เขาได้รับมอบปริญญาเอก ต่อจากนั้นเขาได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับการแผ่รังสีของวัตถุ แพลงคพบว่าเมื่อวัตถุมีอุณหภูมิสูงขึ้นมักจะเปลี่ยนสี เช่น เมื่อโลหะได้รับความร้อนจะเปลี่ยนเป็นสีแดง เพราะฉะนั้นเมื่อวัตถุถูกทำให้ร้อนขึ้นย่อมแผ่รังสีความร้อนออกไป แพลงคได้ทำการทดลองต่อไป เพื่อค้นหาลักษณะของรังสีที่แผ่นออกมา แพลงคพบว่ารังสีจะแผ่ออกมาเป็นระยะ ๆ และเป็นอนุภาคเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ควอนตัม ไม่ได้ปล่อยออกมาเรื่อย ๆ ตลอดเวลาเขาได้ตั้งชื่อทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฎีควอนตัม เขาได้นำผลงานเกี่ยวกับทฤษฎีควอนตัมเสนอต่อสมาคมฟิสิกส์แห่งเบอร์ลิน เมื่อทฤษฎีของเขาเผยแพร่ออกไปแล้ว แต่ก็ไม่เป็นที่ยอมรับกันเท่าไรนัก จนกระทั่งปี ค.ศ.1906 อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้นำทฤษฎีของแพลงคมาอธิบายประกอบดับทฤษฎีโฟโตอิเล็กทริค เอฟเฟค (Photoelectric Effect) และในปี ค.ศ.1913 นีลส์ บอร์ ได้นำทฤษฎีนี้มาอธิบายประกอบทฤษฎีอะตอมของเขา และจากการค้นพบทฤษฎีควอนตัม ในปี ค.ศ.1918แพลงคได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ และได้รับเชิญเข้าร่วมเป็นสมาชิกในสถาบันที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง เช่น ราชบัณฑิตยสภา
(Royal Institute) และสมาคมฟิสิกส์แห่งสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

ต่อมาในปี ค.ศ.1930 แพลงคได้รับเชิญให้ดำรงตำแหน่งประธานของสมาคมไกเซอร์วิลเฮลืฒแห่งเบอร์ลิน ต่อมาสามาคมนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็นสมาคมแมกซ์ แพลงค (Max Planck Societyป เพื่อเป็นเกียรติให้กับเขา ในระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่งนี้เขาได้ริเริ่มให้ออกวารสารเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ฉบับหนึ่งชื่อ Annalen der Physik เพื่อเผยแพร่ผลงานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของทางสมาคมให้สาธารณชนได้รับรู้

แพลงคได้ย้ายมาอยู่ที่เมืองกอตติงเกน ในปี ค.ศ.1945 และหลังจากนั้นอีก 2 ปี เขาก็เสียชีวิตในวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ.1947



ที่มา
http://siweb.dss.go.th/Scientist/scientist/Max%20Planck.html